การเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย

Main Article Content

ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย โดยแบ่งเป็น 9 ประเด็น ได้แก่ 1) การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น 2) การปกครองตนเองของท้องถิ่น 3) การกำกับดูแลท้องถิ่น 4) ความเป็นอิสระของท้องถิ่น 5) การมีส่วนร่วมของประชาชน 6) โครงสร้างของท้องถิ่น 7) ภารกิจหน้าที่ของท้องถิ่น 8) การคลังท้องถิ่น และ 9) การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น


การปกครองท้องถิ่นไทยมีพัฒนาการมาเป็นเวลามากกว่า 100 ปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงในหลักการสำคัญหลายด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในแต่ละยุคสมัย การเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นในยุคปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งได้ บัญญัติหลักการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการกระจายอำนาจไว้อย่างชัดเจน ส่งผลให้มีกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นจำนวนมาก และสืบเนื่องมาถึงรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ และการบริหารภาครัฐใหม่ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาจากประชาธิปไตยระดับชาติ มาเป็นประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาจากประชาชนอย่างแท้จริง


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ