เรียนรู้จากที่บ้าน : ฐานรากของการมีทักษะชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

น้ำผึ้ง มีศิล
นริสรา พึ่งโพสภ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวแบบเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21 ผ่านมุมมองของครอบครัวต้นแบบที่มีแนวปฏิบัติที่ดีจำนวน 9 ครอบครัว โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาผลการวิจัย พบว่า ในช่วงแรกผู้ปกครองจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้แก่บุตรด้วยสาเหตุหลัก 2 ระดับ คือ 1) ระดับบุคคลและครอบครัว ได้แก่ การที่บุตรประสบปัญหาในการไปโรงเรียน เจตคติและศักยภาพของผู้ปกครองเอง การได้รับแบบอย่างทางสังคมในด้านการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและการมีสภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่เอื้อต่อการไปโรงเรียน 2) ระดับชุมชนและสังคม ได้แก่ สถานการณ์ของโรงเรียนไม่เหมาะสมและการได้รับการสนับสนุนทางสังคมให้สามารถจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้เมื่อจัดการศึกษาไปได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ปกครองเกิดการรับรู้การเข้าใจไปพร้อมกับบุตร ผนวกกับแนวคิดของพุทธศาสนาในวัฒนธรรมไทยส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดการปรับเปลี่ยน ทั้งในด้านบทบาทจากผู้สอนมาสู่ผู้ร่วมเรียนรู้และปรับเปลี่ยนเป้าหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเพื่อมุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานเพื่อให้ผู้เรียนอยู่รอดได้ภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21
ทั้งนี้ ผู้ปกครองที่จัดการศึกษาโดยครอบครัวให้นิยามหรือคำจำกัดความของทักษะชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21 คือ คุณสมบัติที่ผู้เรียนซึ่งผ่านการจัดการศึกษาโดยครอบครัวแบบเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21 พึงมีเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว ได้แก่ พึ่งตนเองได้ ปรับตัวง่าย แก้ปัญหาเป็น เข้ากับคนอื่นได้ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบ ผู้ปกครองที่จัดการศึกษาโดยครอบครัวมุ่งเน้นความเชี่ยวชาญในการพึ่งพาตัวเองในชีวิตประจำวันของลูกมากที่สุดโดยมีเทคนิคการเรียนรู้ผ่านการเล่น การเผชิญสถานการณ์จริง การเรียนรู้จากตัวแบบซึ่งก็คือพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญ การลงมือทำทั้งงานบ้าน งานที่ผู้เรียนถนัดและสนใจ และงานอาชีพของครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย