การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเรื่องตัณหาในพุทธศาสนาเถรวาทกับแนวคิดเรื่องความต้องการในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

Main Article Content

ปิยะพัชร เครือเขื่อนเพชร
ผจญ ผจญ คำชูสังข์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ1) ศึกษาแนวคิดเรื่องตัณหาในพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาแนวคิดเรื่องความต้องการในทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสองแนวคิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางเอกสาร โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารทั้งที่เป็นปฐมภูมิ และทุติยภูมิ เอกสารดังกล่าวได้แก่ พระไตรปิฎก งานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หนังสือ เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสองแนวคิดมีมุมมองต่อมนุษย์แบบมนุษยนิยม คือเห็นคุณค่าในตัวของมนุษย์ และเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ ในทางพุทธศาสนาได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ 1) ความต้องการฝ่ายดีหรือกุศล เรียกว่า “ฉันทะ” และ 2) ความต้องการฝ่ายไม่ดี หรืออกุศล เรียกว่า “ตัณหา” ซึ่งต่างจากมาสโลว์ที่ไม่แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็นความต้องการในฝ่ายดี หรือไม่ดี ทั้งสองแนวคิดนี้ต่างก็กล่าวว่า กระบวนการเกิดขึ้นของความต้องการมีความสัมพันธ์กับกระบวนการสัมผัสและรับรู้ แต่ทั้งสองแนวคิดนี้มีมุมมองต่อเรื่องบทบาทของตัณหาหรือความต้องการที่ต่างกัน โดยทางศาสนาพุทธกล่าวถึงบทบาทของตัณหาในแง่ลบ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ถึงแม้บางครั้งตัณหาจะสามารถใช้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการกระทำในด้านบวกได้ แต่ก็ได้ย้ำเตือนเสมอว่าหากใช้แรงจูงใจประเภทตัณหาโดยขาดสติปัญญากำกับก็จะทำให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน ตัณหาจึงเป็นสิ่งที่ควรละทิ้ง ส่วนมาสโลว์เชื่อว่าความต้องการของมนุษย์นี้ควรจะได้รับการเติมเต็มและพัฒนาให้เจริญงอกงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย