ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน การรวมตัวกันทางภูมิภาคและการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

Main Article Content

จรินทร์ทิพย์ สายมงคลเพชร

บทคัดย่อ

แนวคิดว่าด้วยความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) เป็นหลักการสำคัญที่อาเซียนใช้ในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาคมาโดยตลอด ที่ผ่านมาอาเซียนได้มีวิธีการต่าง ๆ ในการสร้างความเป็นศูนย์กลางให้เกิดขึ้น โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เนื่องจากผู้นำอาเซียนตระหนักว่าการส่งเสริมการรวมตัวกันของอาเซียนจะช่วยให้ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ และความเชื่อมโยงด้านประชาชนสู่ประชาชน วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือการชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง (SKRL) หนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของการสร้างความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกลายเป็นข้อจำกัดที่ฉุดรั้งมิให้อาเซียนบรรลุถึงการสร้างความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน คือข้อจำกัดของประเทศสมาชิกในด้านงบประมาณและเทคโนโลยีในการก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม และ 2) ปัจจัยภายนอก คือบทบาทของจีนที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการผลักดันนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ทำให้จีนมีบทบาทในการสร้างเส้นทางรถไฟของอาเซียนหลายโครงการ ทั้งนี้การวิเคราะห์ถึงข้อจำกัดในการบรรลุถึงความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน จะพิจารณาจากความหมายและคุณลักษณะของแนวคิดความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2556ก). ASEAN Mini Book. กรุงเทพฯ: กรมอาเซียน.
___________________. (2560ข). ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20170418-114830-829029.pdf.

กระทรวงการต่างประเทศ, กองอาเซียน 3. (2554). แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน. กรุงเทพฯ: บริษัท คาริสม่า มีเดีย จำกัด.

กิตติ ประเสริฐ และกุลระวี สุขีโมกข์, บรรณาธิการ. (2559). รถไฟความเร็วสูง: การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. จับตาอาเซียน. 5(4): 30-32.

นิยม รัฐอมฤต และจาง ซีเจิ้น, บรรณาธิการ. (2560). จีน 3 มิติ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปราณี ทิพย์รัตน์. (2561). ประชาคมอาเซียน: มายาคติและความเป็นจริง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ASEAN. (2012). Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of
an ASEAN Community by 2015. Retrived from https://asean.org/cebu-declaration-on-th-acceleration-of-theestablishment-of-an-aseancommunity-by-2015/.

ASEAN Secretariat. (2008a). ASEAN Charter. Jakarta: ASEAN Secretariat.
_______________. (2010b). Master Plan on ASEAN Connectivity. Jakarta: ASEAN Secretariat.

Asia Times. (2012). Cambodia as divide and rule pawn. Retrieved from http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/NG18Ae03.html

Ba, Alice D. (2016). Institutionalization of Southeast Asia: ASEAN and ASEAN centrality in Alice D. Ba & Cheng-Chwee Kuik, Institutionalizing East Asia: Mapping and reconfiguring regional cooperation. (11-34). London: Routledge.

BBC News. (2012). ASEAN nations fail to reach agreement on South China Sea. Retrieved from http://www.bbc.com/news/world-asia-18825148

Ho, Benjamin. (2012). ASEAN Centrality in a Rising Asia. RSIS Working Paper. (249).

Hong, Zhao. (2016). Can China’s OBOR Initiative Synergize with AEC Blueprint 2025?. ISEAS-Yusof Ishak Institute, 2016(62).

Jones, Lee. (2010). Still in the “Driver's Seat”, But for How Long? ASEAN’s Capacity for Leadership in East-Asian International Relations. Journal of Current Southeast Asian Affairs, 20(3): 95-113.

Kratz, Agatha. (2017). Chinese High-Speed Rail in Southeast Asia Fast-tracking China’s regional rise? Retrieved from https://reconnectingasia.csis.org/ analysis/entries/chinese-high-speed-rail-southeast-asia/

Ukrist Pathmanand. (2019). China's OBOR Strategic Implications for Mainland Southeast Asia in China's Rise in Mainland ASEAN: NewDynamics and Changing Landscape. (65-86). Sigapore: World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.

Petri, Peter A. & Plummer, Michael G. (2014). ASEAN Centrality and the ASEAN-US Economic Relationship. Hawaii: East-West Center.

Singapore Institute of International Affairs. (2015). ASEAN Centrality in the Regional Architecture. Retrieved from http://www.siiaonline.org/wp-content/uploads/2016/10/2015-05-Policy-Brief-ASEAN-Centrality-in-the-Regional-Architecture.pdf

Ministry of Foreign Affairs. (2013a). ASEAN Mini Book. Bangkok: Department of ASEAN Affairs. [in Thai]

____________________.(2017b). ASEAN Connectivity. Retrieved from http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20170418-114830-829029.pdf. [in Thai]

Ministry of Foreign Affairs, ASEAN Affairs Division 3. (2011). Master Plan on ASEAN Connectivity. Bangkok: Charisma Media. Co., Ltd. [in Thai]

Kitti Prasirtsuk et al. (2016). High-Speed Rail: Chinese infrastructure investments in Southeast Asia. ASEAN Watch. 5(4): 30-32. [in Thai]

Pranee Thiparat. (2018). ASEAN Community: Myth and Reality. Bangkok: International Relations. Faculty of Political Science. Chulalongkorn University.

Niyom Rat-ammarit & Zhang Xizhen. (2017). China in Three Dimensions. Bangkok: Pridi Banomyong International Colege. Thammasat University.