ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเกมของนักเรียนระดับชั้น ป.4-6 ในโรงเรียนเขาทอง ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับนักเรียนรวม 208 คน และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ Binary Logistic Regression
ผลการศึกษาพบว่านักเรียนชั้น ป.4-6 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ และนักเรียนกว่าร้อยละ 80 ใช้โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนที่ตัวเองเป็นเจ้าของ มากกว่าครึ่งสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และใช้โทรศัพท์ได้อย่างอิสระโดยที่ครอบครัวไม่มีส่วนร่วมในการเลือกใช้แอปพลิเคชัน นักเรียนมากกว่าร้อยละ 80 เล่นเกมออนไลน์ด้วยโทรศัพท์มือถืออยู่ที่บ้านตัวเอง เกมที่เล่นบ่อยที่สุดคือ RoV (ร้อยละ 44.7) ซึ่งเป็นเกมที่เล่นตามบทบาท จำนวนชั่วโมงเฉลี่ย
ที่เล่นต่อวันอยู่ประมาณ 3 ชั่วโมง สำหรับพฤติกรรมการติดเกม พบว่ามีนักเรียนมากถึงร้อยละ 45 มีพฤติกรรมการติดเกมอยู่ในระดับคลั่งไคล้และน่าจะติดเกม และเมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเกมของนักเรียน พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการติดเกมได้แก่ เพศ ความเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ การเลือกแอปพลิเคชันให้กับเด็กโดยครอบครัว ความบ่อยครั้งในการเล่นเกม จำนวนชั่วโมงเล่นเกมเฉลี่ยต่อวัน และการรับรู้ผลเสียจากการติดเกม โดยสรุปการศึกษานี้สะท้อนว่านักเรียนชั้น ป.4-6 ที่มีสมาร์ทโฟนเป็นของตนเอง และการที่ผู้ปกครองไม่ได้มีส่วนในการเลือกแอปพลิเคชัน รวมถึงไม่จำกัดชั่วโมงการเล่นเกมของเด็ก จะทำให้เด็กมีโอกาสติดเกมได้
ดังนั้นการสนับสนุนให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนในการใช้โทรศัพท์มือถือของเด็ก การส่งเสริมทักษะการใช้โทรศัพท์มือถือให้เหมาะสม การมีส่วนในการกำหนดแอปพลิเคชันให้เด็ก และกำหนดระยะเวลาในการเล่นเกมต่อวัน น่าจะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสติดเกมน้อยลง
Article Details
References
จิตริน ใจดี. (2557). ปัญหาเด็กติดเกมวิธีสังเกต ป้องกันและแก้ไข. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.it24hrs.com/2014/problem-of-game/ [21 กันยายน 2560]
ชาญวิทย์ พรนภดล, ศิริสุดา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา, ตวงพร สุรพงษพิวัฒนะ, ชดาพิมพ์ ศศลักษณานนท์ และปาฏิโมกข์ พรหมช่วย. (2552). การศึกษาหาปัจจัยป้องกันการติดเกมในเด็กและวัยรุ่น. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.
ชาญวิทย์ พรนภดล. (2551). แบบทดสอบการติดเกม GAST [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer [21 กันยายน 2560]
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน. (2553). ตัวการทำเด็กติดเกม [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/information/news/8575 [21 กันยายน 2560]
ปัทมา อนุมาศ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดเกมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหามหาบัณฑิต, สาขาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปัณณธร ชัชวรัตน์ และดลฤดี เพชรขว้าง. (2545). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเกมส์ของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2556). พฤติกรรมการเล่นเกม [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.moe.go.th/news_center/news07062549_5.htm [21 กันยายน 2560]
วรุณา กลกิจโกวินท์, ชัยพร วิศิษฎ์พงศ์อารีย์, พิสาส์น เตชะเกษม, ชาญวิทย์ พรนภดล และบุษบา ศุภวัฒน์ธนบดี. (2558). การติดเกมคอมพิวเตอร์ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันของเด็กนักเรียนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารวชิรเวชสาร 59(3).
วิศรุต ตันติพงศ์อนันต์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นและกระบวนการขัดเกลาทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยารามคำแหง.
ศิริไชย หงส์สงวนศรี และพนม เกตุมาน. (2552). Game addiction: The crisis and solution [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/psychiatristknowledge/childpsychiatrist/06112015-1432.
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2548) สำหรับ เด็กและวัยรุ่น : แบบทดสอบพฤติกรรมติดเกม (GAST) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiteentraining.com/survey/evaluation.php?module=detail&action=view&cid=1&id=7 [21 กันยายน 2560]
สถาบันรามจิตติ. (2557). "เด็กติดเกม" ฝันร้ายพ่อแม่ยุคไซเบอร์ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaisafenet.org/article.php?act=show&Id=258-.html [21 กันยายน 2560]
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น. (2557) บทวิเคราะห์งานวิจัยสถานการณ์เด็กติดเกม มิถุนายน 2557 [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/download/academic/64135 [13 พฤษภาคม 2561]
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล กับการจัดสรรคลื่น 4G ของรัฐบาลประยุทธ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://prachatai.com/journal/2015/03/58399 [10 ตุลาคม 2561]
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน): กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักสถิติพยากรณ์.
สุดา จั่นมุกดา และสมพร เนติรัฐกร. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์และผลกระทบที่เกิดจากการติดเกมของนักเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม. เอกสารการวิจัยเสนอต่อกรมส่งเสริมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
สุภาวดี เจริญวานิช. (2557). พฤติกรรมการติดเกม : ผลกระทบและการป้องกัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 22(6) (ฉบับพิเศษ).
สุรเชษฐ์ เวชกามา. (2551). สาเหตุการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นช่วงชั้นที่ 2-4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Allison, S.E., Von, W.L., Shockley, T & Gabbard G.O. (2006). The development of the self in the era of the internet and role-playing fantasy games. The American Journal of Psychiatry. Mar; 163(3): 381-5.
Chih, H.K., Gin, C.L., Ju, Y.Y., Cheng, F.Y., Cheng, S.C. & Wei, C.L. (2013). The brain activations for both cue-induced gaming urge and smoking craving among subjects comorbid with internet gaming addiction and nicotine dependence. J Psychiatr Res.. Apr; 47(4): 486-93.
Han, D.H., Lee, Y.S., Yang, K.C., Kim, E.Y., Lyoo, I.K. & Renshaw, P.F. (2007). Dopamine genes and reward dependence in adolescents with excessive internet video game play. J Addict Med. 2007 Sep; 1(3).
Kim, E.J., Namkoong, K., Ku, T. & Kim, S.J. (2008). The relationship between online game addiction and aggression, self-control and narcissistic personality traits. Eur Psychiatry. 2008 Apr; 23(3).
Kimberly, Y. (2009). Understanding online gaming addiction and treatment issues for adolescents. The American Journal of Family Therapy, 37(5).
Koepp, M.J., Gunn, R.N., Lawrence, A.D., Cunningham, V.J., Dagher, A., Jones, T. et al. (1998). Evidence for striatal dopamine release during a video game. Nature. May 21; 393(6682).
Ko, C.H., Yen, J.Y., Chen, C.C., Chen, S.H. & Yen, C.F. (2005). Gender differences and related factors affecting online gaming addiction among Taiwanese adolescents. J Nerv Ment Dis. Apr; 193(4)
Pornnoppadol, C., Na Ayudhaya, L., Surapongphiwattana, T. & Phoasavasdi, C. (2009). Identifying protective factors for game addiction in children and adolescents. National Research Council of Thailand.
Translated Thai References
Kalaya Vanichbancha and Thita Wanichbancha. (2015). Using SPSS for Windows to analyze data (15th ed.). Bangkok: Sam Lada Printing, 352. [in Thai]
Jitrin Jaidee. (2014). The problem of children addicted to games; Observation methods Prevent and fix. [Online]. Source: https://www.it24hrs.com/2014/problem-of-game/ [21 September 2017] [in Thai]
Charnvit Pornnophadol, Sirisuda Ladawan Na Ayudhaya, Tuangporn Surapongphiwattana, Chadaphim Saslaksananon and Patimok Phromchauy. (2009). Identifying protective factors for game addictive in children and adolescents. National Research Council of Thailand. Bangkok. [in Thai]
Charnvit Pornnaphon. (2008). GAST game addiction test. [Online]. Source: www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer [21 September 2017] [in Thai]
Patthama Anumart. (2009). Factors affecting game addiction behavior in junior high school students, Nakhon Si Thammarat Province. Master's thesis, Master's degree in Health Education and Behavioral Science Faculty of Health Sciences Mahidol University. [in Thai]
Punnathorn Chatchawarat and Donruedee Phetkwang. (2002). Factors related to youth game addiction in Mueang District, Payao Province. Ph.D. thesis, curriculum and teaching, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]
Varuna kolkijkovin, Chaiyaporn Wisitpongaree, Pisarn Techakasem, Chanvit Pornnoppadol and Busaba Supawattanabodee. (2015). Computer Game Addiction: Risk and Protective Factors in Students in Dusit District, Bangkok. Wachiravej Journal 59 (3). [in Thai]
Wisarut Tantiponganant. (2013). Factors influencing the online game addiction behaviors of adolescents and the socialization process. Ph.D. thesis, Sociology Faculty of Humanities Ramkhamhaeng University. [in Thai]
Siri Chai Hongsanguansri and Phanom Ketman. (2009). Game addiction: The crisis and solution. [Online]. Source: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/psychiatristknowledge/childpsychiatrist/06112015- 1432. [in Thai]
Institute of Child and Adolescent Mental Health. Rajanagarindra. (2005) Game Addiction Screening Test – GAST. [Online]. Source: http://thaiteentraining.com/survey/evaluation.php?module=detail&action=view&cid=1&id=7 [21 September 2017] [in Thai]
Ramjitti Institute. (2014). "Video game-addicted children" Nightmare of cyber parents. [online]. Source: http://www.thaisafenet.org/article.php?act=show&Id=258-.html [21 September 2017] [in Thai]
Institute of Child and Adolescent Mental Health. (2014). Research report on the situation of children addicted to games, June 2014 [Online]. Source: http://www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/download/academic/64135 [13 May 2018] [in Thai]
Somkiat Tangkitwanich. Digital economic policy With the allocation of 4G waves of the Prayuth government. [Online]. Source: https://prachatai.com/journal/2015/03/58399 [10 October 2018] [in Thai]
Electronic Transaction Development Office (2015). Report of Internet User Behavior Survey in Thailand 2015. Electronic Transaction Development Agency (Public Organization): Ministry of Information and Communication Technology. [in Thai]
Bureau of Economic and Social Statistics And the National Statistical Office. (2016). Survey on the Use of Information and Communication Technology in Households, 2016. Bangkok: Bureau of Forecasting Statistics. [in Thai]
Suda Junmukda and Somporn Natirutthakorn. (2007). Factors related game addiction and impact of game playing of students in Samutsongkhram province. Research papers presented to the Department of Mental Health Promotion Ministry of Public Health. [in Thai]
Supawadee Charoenwanit. (2014). Game Addiction Behaviors: Impacts and Preventions. Journal of Science and Technology 22 (6) (Special Edition). [in Thai]
Surachet Vejkama. (2008). Causes of computer game addiction of students in Khon Kaen Municipality, 2nd to 4th grade. Master's thesis, Master of Education Technology Faculty of Education Maha Sarakham University. [in Thai]