ความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0 กรณีศึกษา บุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคล ในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิธิพร คงแก้ว
ไอริน โรจน์รักษ์

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลที่มีต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0 2) เปรียบเทียบความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลที่มีต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาระดับประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความพร้อมสู่ยุค HR 4.0 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร จำนวน 52 คน สถิติที่ใช้ คือ สถิตเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย       ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานได้แก่ Independent sample และ    One-Way ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลที่มีต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0 โดยภาพรวม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงาน ด้านความสามารถ และด้านทักษะของบุคลากร อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลที่มีต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ หน่วยงาน และอายุการทำงาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ส่งผลถึงความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลที่มีต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา หน่วยงาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ส่งผลถึงความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลที่มีต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการเปรียบเทียบระดับประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความพร้อมสู่ยุค HR 4.0 ในภาพรวมทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม2559. สืบค้นจาก http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf.

กิตติยาภรณ์ อินธิปีก. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยเพื่อ รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด)

จิรประภา อัครบวร. (2561). 10 ความท้าทาย วัดกึ๋น HR อนาคต. สืบค้นจาก https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/15792.

จีระพรรณ นิลทองคำ. (2557). การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: เจริญฉัตราภรณ์.

ต่อตระกูล บุญปลูก (2556) การเตรียมความพร้อม และศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขด้านการจัดการเรียนรู้ของครูและผู้บริหารสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ของโรงเรียนบ้านเวียงพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล. (2552). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานระบบสารสนเทศของสถาบันการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

พิชิต เทพวรรณณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่นวิทย์การพิมพ์.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2559). ภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล สืบค้นจาก
http://www.parliament.go.th/library.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2559). จับประเด็นร้อน! HR 4.0 TRENDS AND MOVE ทิศทาง การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ @ THAILAND 4.0. วารสาร HR Society magazine ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก http://dir.co.th/th/ข่าวสาร/ข่าวสารทั่วไป/item/96-hr4-0-trends-and-move.html.

ศาลิกร รัตนโชติ. (2561). ทักษะที่ HR ต้องมี ในปี 2020. สืบค้นจากhttp://hr.workventure.com/2018/03/200.

สุนทร ทองกำเนิด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาพร บุญทอง (2559). การศึกษาปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล ปัจจัยกระบวนการความรู้ความเข้าใจและปัจจัยกระบวนการทำงานที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีไทยเพื่อการรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy): กรณีศึกษาบัญชีไทยในองค์กรธุรกิจไทย เขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

Daft, R. & Marcic, D. (2013). Management: The new workplace. 8th ed. Canada: South-Western Cengage Learning.

Noe, R. A., Hollenbeck, J, R., Gerhart, B. & Wright, P. M. (2012). Human resource management: Gaining a competitive advantage. 8 th ed., New York: McGraw-Hill/ Irwin