การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของคนในชุมชนหลังวัดราชนัดดา ระหว่างทศวรรษ 2540 – 2550

Main Article Content

กนิษฐา ชิตช่าง

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มุ่งศึกษาถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนหลังวัดราชนัดดา ภายใต้การประกาศใช้แผนอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2544 จนถึงช่วงการประกาศใช้แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพของคนในชุมชนอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่าแผนการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2544 เป็นแผนการอนุรักษ์เมืองเก่าทั้งย่าน มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดการขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าของประเทศไทย เพื่อให้มีรายได้เข้าสู่ประเทศไทยเพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่ประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในทศวรรษ 2540 การกระตุ้นเศรษฐกิจนี้มีผลให้เกิดการลงทุนด้านโรงแรมขนาดกลาง ในบริเวณชุมชนหลังวัดราชนัดดาฯ เป็นลำดับเพื่อเป็นทางเลือกด้านแหล่งที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว ที่สะอาด และสะดวกสบาย ใกล้แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่นอกเหนือไปจากแหล่งที่พักราคาถูก ในถนนข้าวสารย่านบางลำพู นอกจากนี้ในงานวิจัยยังพบว่า การขยายตัวด้านการลงทุนด้านโรงแรมขนาดกลาง และที่พักขนาดเล็ก (โฮสเทล) ที่ดัดแปลงจากที่อยู่อาศัยเดิมของคนในชุมชนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นไปอีกภายหลังจากการที่รัฐบาลประกาศใช้แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559 รวมไปถึงคนในชุมชนที่เป็นผู้ค้ารายย่อยก็ปรับกลยุทธ์การขายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาพักในชุมชนหรือสัญจรผ่านถนนราชดำเนินอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การอนุรักษ์เมืองและย่านประวัติศาสตร์ (2)การฟื้นฟูย่าน (กรณีตัวอย่าง) ย่านถนนราชดำเนินกลาง. สืบค้นจาก http://suebpong.rmutl.ac.th/conweb/city2.htm.

ชาตรี ประกิตนนทการ (2550) “ความทรงจำ อำนาจ ราชดำเนิน” ใน วารสารเมืองโบราณ 33 4( ตุลาคม – ธันวาคม 2550)

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2558). สถาปัตยกรรมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.

เดือนเต็มดวง บุญคง.(2548). การคงอยู่ของชุมชนพักอาศัยในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์: กรณีศึกษา ชุมชนหลังวัดราชนัดดา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนภน วัฒนกุล.(2550) พิมพ์ครั้งที่ 3. การเมืองเรื่องพื้นที่พลวัตทางสังคมของชุมชน (กรณีศึกษา: ชุมชนป้อมมหากาฬ). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา.

ธนากร สวารักษ์และคณะทำงานพัฒนาชุมชน. รายงานจัดทำแผนแม่บทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พ.ศ. 2554. (เอกสารอัดสำเนา,ม.ป.พ.)

ประกาศคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ใน แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ (2554, 17 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 67.

ประกาศย้ายสํานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร.[ม.ป.ป.] สืบค้นจาก http://download.rd.go.th/fileadmin/download/moveST1.pdf

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และลานพลับพลามหาเจษบดินทร์ จาก ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. สืบค้นจาก http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/.

พินัย สิริเกียรติกุล. ณ ที่นี้ไม่มีความเสื่อม: ถนนราชดำเนินพ.ศ. 2484 – 2488. ใน วารสารหน้าจั่ว 6 (กันยายน 2552 – สิงหาคม 2553). น. 9 – 51

มูลนิธิเล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์. (2559). รศ.ศรีศักร วัลลิโภดมได้รับรางวัลวัฒนธรรมแห่งเอเชีย

เมืองฟูกูโอกะ ประจำปี ๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๑๘). สืบค้นจาก
http://lek- prapai.org/home/view.php?id=216

ระบบขนส่งสาธารณะ. [ม.ป.ป.]. สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพ 2 อาคาร1. [แผนที่]. สืบค้นจาก https://moovitapp.com/index/th/ระบบขนส่งสาธารณะ-สำนักงาน สรรพากรพื้นที่กรุงเทพ_2_อาคาร_1.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2549). เศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา. M.T.E.C. (กรกฎาคม – ธันวาคม), 46. สืบค้นจาก https://www2.mtec.or.th/th/e- magazine/admin/upload/227_37-49-edit. pdf.

ลลิดา บุญมี. (2555). แนวทางการปรับปรุงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ กลุ่มอาคารราชดำเนิน: กรณีศึกษาอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วลัยลักษณ์ สุขจั่น. (2560). ความเป็นส่วนตัวในโฮสเทล กรณีศึกษาโฮสเทลราคาประหยัดย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง. (2557). โครงการวางแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลาง. สืบค้นจาก http://www.uddc.net/th/project/%. WvVqVIiWSyL

สมชาติ จึงสิริอารักษ์. ความเชื่อและแนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยจากอดีตสู่ ปัจจุบัน. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทยฉบับที่ 8,(กันยายน 2554 – สิงหาคม 2555),น. 122.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานการ ประชุมสัมมนาวิชาการ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐, รายงานการประชุม. สืบค้น จาก www.onep.go.th.

สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. (2542). จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร, 86-93, สืบค้นจากhttp://203.155.220.230/m.info/bmahistory/nakornbma.html.

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์. (2562). สร้างแลนด์มาร์ก! คสช.ปัดฝุ่นที่ริม ถ.ราชดำเนินสร้าง ลานเฉลิมพระเกียรติ 566 ล้าน สืบค้นจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9570000092359.

อณุสรา ทองอุไร.(2560). เมธาวลัย ศรแดง 60 ปี ตำนานอาหารไทย, หนังสือพิมพ์ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/travel/481384.
A – Seven Corporation CO.,LTD. รายงานฉบับสมบูรณ์, น. 4 – 6,4 – 7.
booking.com. [n.d]. retieved from: https://www.booking.com/searchresults.th.html?aid=318615;label=EnglishThailand_EN_TH_29562093625-RFSq43sv0ZC7GYxcUGohbgS1134176331;sid=91e42f926f9db61661bf5dd72422361e;city=-3414440;expand_sb=1;highlighted_hotels=2245253;hlrd=no_dates;keep_landing=1;redirected=1;source=hotel&

Chitchang, Kanitha. (2560). Ratchadamnoen Avenue and the Community Development: A Case Study of Ratchanadda Temple’s Community. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(2), 270 – 282.

Traveloka. [n.d.]) retrieved from: https://www.traveloka.com/th-th/hotel/thailand/siam-champs-elyseesi-unique-hotel-bangkok-3000010040337