มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบรรณาธิการสื่อออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิด หลักเกณฑ์ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบรรณาธิการสื่อออนไลน์ ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการกำกับและควบคุมสื่อมวลชนในต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาและแนวทางสำหรับการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบรรณาธิการสื่อออนไลน์ และมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการเผยแพร่ข้อมูลของสื่อออนไลน์
ผลจากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าทำให้สาธารณชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง ผ่านทางสำนักข่าวออนไลน์ต่าง ๆ ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของบรรณาธิการข่าว เพราะความรวดเร็วที่เกิดขึ้นทำให้การนำเสนอข่าวสารของสื่อออนไลน์อาจละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลและกระทบต่อสังคม ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการกำหนดนิยาม หลักเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้ในกำกับและควบคุมสื่อทุกประเภทไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดมาตรการทางอาญาในการควบคุมบรรณาธิการสื่อออนไลน์ กำหนดความรับผิดในทางกฎหมายกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นต่อบุคคล โดยการตราพระราชบัญญัติ “การคุ้มครองบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสื่อออนไลน์” เพื่อคุ้มครองประชาชนให้สามารถปกป้องสิทธิของตนเองและเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย กำหนดมาตรการทางปกครอง และกำหนดมาตรการขององค์กรวิชาชีพที่ใช้ในการควบคุมบรรณาธิการสื่อออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2538). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่ ตอนที่ 1. พัฒนาเทคนิคศึกษา.
คณิต ณ นคร. (2537). กฎหมายอาญาภาคความผิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2555). กฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน. นิธิธรรม.
คนึงนิจ ขาวแสง. (2563). การกำหนดบทนิยามของสื่อมวลชนในกฎหมายที่ควบคุมสื่อ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 49(1), 61.
จรัญ โฆษณานันท์. (2552). นิติปรัชญา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชาญวิทย์ รักษ์กุลชน. (2556). หลักนิติธรรมกับหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี. หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตยรุ่น ๑ ปี วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ดวงใจ เสกธีระ. (2540). ทัศนะเกี่ยวกับเสรีภาพหนังสือพิมพ์ของนักวิชาชีพนักการเมืองและประชาชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
ถิรวรรณ กลางณรงค์. (2554). การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนและการคุ้มครองสิทธิของบุคคล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]
ธานี วรภัทร. (2557). หลักกฎหมายมาตรการบังคับทางอาญา. วิญญูชน.
นรินทร์ นำเจริญ.(2549). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). หลักการพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ. วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). วิญญูชน.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2550). กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะกฎหมายมหาชนยุคต่าง ๆ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. ภาพพิมพ์.
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2550). นิติปรัชญา. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์. (2560). สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. สำกงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. (2547). กฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชน. โกสินทร์.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2551). หลักนิติรัฐ. ในเอกสารประกอบคำบรรยายวิชาทฤษฎีและหลักกฎหมายมหาชน. ชุดที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2-10.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. นิติบรรณาการ.
วีระ โลจายะ. (2532). กฎหมายสิทธิมนุษยชน. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ศุภกิจ แย้มประชา. (2558). มองกระบวนการยุติธรรมทางอาญาผ่านการศึกษาเปรียบเทียบ (The Thai Criminal Justice System A Comparative Perspective). เจริญรัฐ.
สกุลศรี ศรีสารคาม. (2557). รายงานการวิจัยจริยธรรมการใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคมในกระบวนการสื่อข่าวของสื่อไทยในยุคดิจิทัล. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย.
สมควร กวียะ. (2540). สื่อมวลชน: บทบาทหน้าที่ เสรีภาพ และความรับผิดชอบ. อักษราพิพัฒน์.
สมคิด บางโม. (2551). กฎหมายจริยธรรมสื่อสารมวลชน. เอส เค บุ๊คส์.
สมยศ เชื้อไทย. (2538). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป ความรู้กฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 10). วิญญูชน.
สิริทิพย์ ขันสุวรรณ. (2541). งานหนังสือพิมพ์. แผนกตำราและคำสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว: หลักการและเทคนิค. คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สาวตรี สุขศรี. (2555). อาชญากรรมคอมพิวเตอร์งานวิจัยหัวข้อผลกระทบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ในมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม.
เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ. (2563). บรรณาธิการข่าวออนไลน์กับกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 24(3), 238-244.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านสื่อสารมวลชน. สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์. (2553). ประมวลสาระชุดวิชากฎหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์. หน่วยที่ 3, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.