การสร้างสรรค์เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่และบทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย

Main Article Content

Pattaradhorn Sanpinit
สมพรนุช ตันศรีสุข

บทคัดย่อ

บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่และวิเคราะห์บทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่ที่ศึกษามีทั้งหมด 51 เรื่อง ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2565 ทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือและนิตยสาร มี 18 เรื่อง และสื่อดิจิทัล ได้แก่ เว็บไซต์, เฟซบุ๊กและยูทูบ
มี 33 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่าเรื่องเล่าราหูในหนังสือรวบรวมเรื่องของราหูฉบับเต็มและเป็นแหล่งข้อมูลต้นตอของเรื่องเล่าราหูในสื่ออื่น ๆ เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยอิงกับตำนานราหูจากวรรณคดีพราหมณ์-ฮินดู, วรรณคดีพุทธศาสนา และวรรณกรรมไทยด้วยกลวิธี 3 แบบ ได้แก่ 1. ตัดต่อ 2. ปรับเปลี่ยนเนื้อหาโดยการดัดแปลง กับขยายความ และ 3. สร้างเรื่องเล่าขึ้นใหม่ การตัดต่อคือการเลือกตำนานสำคัญเพื่ออธิบายภูมิหลังและชูบทบาทของราหูในเรื่องเล่า ได้แก่ ตอนกำเนิดเทพนพเคราะห์และตอนบุพกรรมกับพระอาทิตย์และพระจันทร์จากเฉลิมไตรภพ, พระพุทธเจ้าทรมานราหูจากจันทิมสูตรและสุริยสูตร ราหูฟังธรรมและได้รับพุทธพยากรณ์จากอรรถกถาโสณทัณฑสูตร การปรับเปลี่ยนเนื้อหาคือการดัดแปลงตำนานที่มีอยู่เดิม
มาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ราหูมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นเทพที่ควรได้รับการบูชาในพุทธศาสนา ตำนานที่ดัดแปลง ได้แก่ ตอนราหูดื่มน้ำอมฤตเพื่อแสดงว่าราหูมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และตอนที่ได้รับพุทธพยากรณ์ การสร้างขึ้นใหม่เป็นการเล่าที่มาของสถานะความเป็นเทพของราหู และประสบการณ์บุคคลซึ่งไม่อิงกับตำนาน
ที่มีอยู่เดิม ได้แก่ โชคลาภจากราหูและความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องราง เรื่องเล่าราหูในสื่อดิจิทัลมีพื้นที่จำกัดจึงมีเฉพาะตอนสำคัญ ได้แก่ กำเนิดและพงศ์พันธุ์, การลักดื่มน้ำอมฤต, การพบพระพุทธเจ้าและได้รับพุทธพยากรณ์, และการร่วมรจนาบทนะโม เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญทำให้ตำนานราหูจากวรรณคดีศาสนาและวรรณกรรมไทยเป็นที่รู้จักในสังคมไทยปัจจุบัน ช่วยสร้างเสริมความมั่นใจของผู้บูชา รับรองหรือสนับสนุนการบูชาราหูทั้งในแง่อามิสบูชาและปฏิบัติบูชา และช่วยอธิบายรูปแทนและเครื่องรางราหูที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงพิธีทรงเจ้าราหู ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นบทบาทของตำนานเทพปกรณัมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูซึ่งเป็นพื้นฐานของตำนานเทวดาในพุทธศาสนาในการสร้างเรื่องเล่ารองรับความเชื่อและพิธีกรรมในพุทธศาสนาปัจจุบัน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบรรณาธิการข่าวสด. (2553). เทพ-เทวะ ศักดิ์สิทธิ์-สักการะ. มติชน.

ทุกทิศทั่วไทย (2560). คลุมจีวรปิดแล้วพระราหู!วัดศีรษะทองทำตามมติ "มส." หมดของดำเครื่องเซ่น 8. ข่าวสดออนไลน์. https://www.khaosod.co.th/aroundthailand/news_555981.

ประเสริฐ รุนรา. (2560). โครงการสัญลักษณ์พระราหูในงานศิลปะ การสืบทอดการสร้างสรรค์ และด้านคติความเชื่อในสังคมไทย, รายงานวิจัยจากทุนสภาการวิจัยแห่งชาติ.

ประเสริฐ รุนรา. (2562). พระราหูเทพเจ้าแห่งโชคลาภและโภคทรัพย์: การสร้างสรรค์ ความหมายใหม่ของสัญลักษณ์พระราหูในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26 (2).

ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2548). สุริยาศศิธร. กรมศิลปากร.

พระสูตรและอรรถกถา แปล . (2525). ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค. เล่มที่ 1 ภาคที่ 2. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระกัสสปะ. (ม.ป.ป.). อนาคตวสํ. หอสมุดแห่งชาติ.

พระไพศาล วิสาโล. (2552). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ภัทรธรณ์ แสนพินิจ. (2562). เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่: การสร้างสรรค์และบทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]

ภัทรพร สิริกาญจน. (2557). พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพในความหลากหลาย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2552). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชภักดี, พระยา. (2555). เฉลิมไตรภพ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุกัญญา สุจฉายา (2548). พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง: บทบาทของคติชนกับสังคมไทย. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุกัญญา สุจฉายา. (2558). การประยุกต์ใช้คติชนในการสร้างวัตถุมงคลในปัจจุบัน, เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สุตฺตนฺตปิฏเก. (2523). สํยุตฺตนิกายสฺส สคาถวคฺโค. มหามกุฎราชวิทยาลัย.

อลงกรณ จิตนุกูล. (2560). การกลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมของสำนักทรง: ระบบความเชื่อกับการปะทะ ประสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรมในโลกสมัยใหม่. http://www.socsci.nu.ac.th/socant2017/downloads/proceeding/046.pdf.

เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2545). พระราหู “ประเพณีประดิษฐ์” แห่งวัดศีรษะทอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]

Banarsidass, T. R. (1967). Rฺgveda Volume 2. (3rd). Motilal Banarsidass.

Kosuta, M. (2016). Woshipping Rāhu in Thailand, Sophia Central Conference: celestial themes in observance and practice of the sacred. The Bath Royal Literary and scientific institution.

Macdonell, A.A. (1974). Vedic mythology. Indological Book.

Schutz, A. (1967). Phenomenology of the Social World. United States. Northwestern University Press.

Tambiah, S.J. (1984). The Buddhist saints of the forest and the cult of amulets. Cambridge University Press.