การลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์สู่การเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

Napassorn Piachan

บทคัดย่อ

ปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจกล่าวได้ว่าเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2560 สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ออกประกาศห้ามนําเข้าขยะจากต่างประเทศอย่างเด็ดขาด ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงขยะพลาสติกจำนวนมากถูกย้ายเส้นทางมาสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย ประกอบกับปัญหาการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยที่มีอยู่เดิม จึงทำให้ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ผิดกฎหมายโดยการสำแดงเท็จ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม หรืออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ กล่าวคือ การกระทำความผิดใดทั้งทางตรงและทางอ้อม อันสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้ในลำดับต่อไป ทั้งนี้ ยังสร้างความเสียหายในวงกว้างและส่งผลกระทบข้ามชาติได้ ซึ่งปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันและแก้ไขการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มาจากข้อจำกัดในด้านการปฏิบัติงาน  การบังคับใช้กฎหมาย และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอันเป็นอาชญากรรมเศรษฐกิจ หรืออาชญากรรมคอปกขาวอีกด้วย ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีนโยบาย มาตรการ กฎหมายต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมประเภทอื่น ๆ เพื่อประโยชน์สุขของสังคมและปกป้องสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นอาชญากรรมและปัญหาของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุปสรรคในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยการนำทฤษฎีทางอาชญาวิทยามาวิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันแก้ไขในลำดับต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด. กรมควบคุมมลพิษ.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). คู่มือการนำเข้าหรือส่งออกวัตถุอันตรายที่เป็นของเสียเคมีวัตถุตาม พ.ร.บ.

วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และของเสียอันตรายตามอนุสัญญาบาเซล. http://webintra.diw.go.th/iwmb/form/manual%20basel%20(คู่มือ).pdf.

กรมศุลกากร. (2565). สถิติการจับกุมขยะอิเล็กทรอนิกส์ พิกัด 84 85 รหัสสถิติ 800 899 ปี พ.ศ. 2558-2565. ระบบงานป้องกันและปราบปราม.

กรีนพีซ. (2562). อาเซียนรวมใจ แต่ทำไมจัดการมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามแดนไม่ได้สักที?. https://www.greenpeace.org/thailand/story/9597/asean-haze-problem/.

กาญจน์กมล พรมเหลา. (2564). แนวคิด ESG คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในกลุ่มนักลงทุนในปัจจุบัน. https://www.tris.co.th/esg/.

จุฑารัตน์ จิโน. (2561). หนังสือพิษวิทยาอาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2554). ทฤษฎีอาชญาวิทยาร่วมสมัยกับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาในปัจจุบัน. หยินหยางการพิมพ์.

ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. (2564). 20 อันดับประเทศที่ไทยนำเข้า “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” และ “เศษพลาสติก” มากที่สุด ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564.

https://www.sarakadee.com/2021/06/21/ขยะอิเล็กทรอนิกส์/.

เติมวงษ์ จันทร์ชุ่ม. (2564). บทบาทศุลกากรในการปกป้องประเทศไทยจากขยะ หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือเศษของที่ใช้แล้วที่ปนเปื้อนวัตถุอันตรายที่นำเข้าหรือลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย (ปี พ.ศ. 2564). กองกฎหมาย กรมศุลกากร.

นพดล นุ้ยจุ้ย. (2550). อาชญากรรมทางเศรษฐกิจข้ามชาติ (Transnational Economic Crime). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

นรากร นันทไตรภพ. (2561). ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์. สำนักวิชาการ

สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. https://libraryparliament.go.th/ebook/content-issue/2561/hi2561-054.pdf.

นัทมน คงเจริญ. (2561). บทที่ 3 หลักการที่สำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประชาธุรกิจ. (2562). สกัดขยะอิเล็กทรอนิกส์จีนทะลัก พาณิชย์ออกประกาศห้ามนำเข้า. https://www.prachachat.net/economy/news-404099.

พรชัย ขันตี. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์ (Criminological Theory: Principle, Research and Policy Implication). มหาวิทยาลัยรังสิต.

พิมพ์พร เนตรพุกกณะ. (ม.ป.ป.). อาชญาวิทยาสีเขียว (A GREEN CRIMINOLOGY). http://www.nathee-chitsawang.com/อาชญาวิทยาสีเขียว-a-green-criminology.

วนัสนันท์ กันทะวงศ์. (2562). อาชญากรรมเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วิชิตร์ แสงทองล้วน. (2561). แนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัด. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 60.

วิลาสินี สิทธิโสภณ. (2563). การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์. สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล และชยพล ฉัตรชัยเดช. (2558). การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก โดยทฤษฎี สามเหลี่ยมอาชญากรรม (Proactive Crime Prevention by Crime Triangle Theory).

กองบัญชาการตำรวจนครบาล.สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย. (ม.ป.ป.). ESG...ปัจจัยสำคัญสู่แนวทางการประกอบธุรกิจตามหลักความยั่งยืน. https://www.asco.or.th/datacenter2-inner.php?id=1589.

สำนักงานท่าเรือแหลมฉบัง. (2565). สถิติผลการดำเนินงาน ท่าเรือแหลมฉบัง 2565. แผนกวิจัยและพัฒนาธุรกิจ กองแผนงาน ท่าเรือแหลมฉบัง. http://lcp.port.co.th/cs/internet/lcp/สถิติบริการเรือ.html.

สุจิตรา วาสนาดำรงดีและปเนต มโนมัยวิบูลย์. (2555). ชุดความรู้เรื่อง “การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste)”. http://www.hsm.chula.ac.th/research/paper/e-wate_management/ewate_management1.pd.

สุมนทิพย์ จิตสว่าง และนัทธี จิตสว่าง. (2558). ปัญหาอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. สภาวิจัยแห่งชาติ.

So Sasaki. (2020). The effects on Thailand of China’s import restrictions on waste: measures and challenges related to the international recycling of waste plastic and e-waste. Chuo University.

The United Nations Interregional Crime and Justice Research Institute. (2015). Environmental crimes. http://www.unicri.it/topics/environmental/.

United States Environmental Protection Agency (EPA). (n.d.). What is Superfund?. https://www.epa.gov/superfund/what-superfund.