ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง

Main Article Content

นันทิยา ดอกคำ
อาจารย์ ดร.อลงกรณ์ อินทรักษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ ผิวนิล

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และศึกษา ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 7 (พ.ศ. 2551, 2556) และ Landsat 8 (พ.ศ. 2561) ในการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเมินคุณภาพน􀃎้ำโดยใช้ดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป (WQI) และศึกษาความสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อคุณภาพน􀃎้ำโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
          ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง ในช่วงปี พ.ศ. 2551 - 2561 พบว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 0.88 รองลงมาคือ พื้นที่อื่น ๆ และพื้นที่แหล่งน้ำ ร้อยละ 0.08 และร้อยละ 0.06 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมมีจำนวนลดลงมากที่สุด ร้อยละ 0.65 รองลงมาคือพื้นที่ป่า และพื้นที่นาเกลือ ร้อยละ 0.22 และร้อยละ 0.15 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินดังกล่าว ส่งผลให้คุณภาพน􀃎้ำโดยรวมมีค่าดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป (WQI) ในช่วงฤดูแล้งเฉลี่ย 57.5 คะแนน และช่วงฤดูฝนเฉลี่ย 59 คะแนน จัดอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม ซึ่งจัดอยู่ในมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 4 ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินกับคุณภาพน้ำ พบว่า พื้นที่ป่ามีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันกับปริมาณแอมโมเนีย (NH3) อย่างมีนัยส􀃎ำคัญ (r = 1.000, p < 0.05) พื้นที่ชุมชน และสิ่งปลูกสร้างมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันกับปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการในการย่อยอินทรีย์สารในน้ำ (BOD) อย่างมีนัยสำคัญ (r= 1.000, p < 0.01) ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรม (r = -1.000)
และพื้นที่นาเกลือ (r = -0.998) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (FCB) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นันทิยา ดอกคำ, -

นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ ดร.อลงกรณ์ อินทรักษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ ผิวนิล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

References

กรมการปกครอง. 2562. สถิติประชากร. https://stat.bora.dopa.go.th /new_stat/webPage/statByYear.php.

กรมควบคุมมลพิษ. (2553). ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์. http://iwis.pcd.go.th/officer/document/download/2/2.pdf.

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2560. https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-19_04-11-39_967159.pdf.

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). คู่มือระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER056/GENERAL/DATA0000/00000973.PDF.

กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน. (2554). รายงานสภาพการใช้ที่และการเปลี่ยนแปลงที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน.

กองจัดการคุณภาพน้ำ. (2540). เกณฑ์ระดับคุณภาพน้ำและมาตรฐานคุณภาพน้ำประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม.

กาญจน์เขจร ชูชีพ. (2561). Remote Sensing Technical Note. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เกษม จันทร์แก้ว. (2526). การจัดการลุ่มน้ำ. ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณาจารย์โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. (2560). เทคนิคการสำรวจการใช้ที่ดินและการประเมินคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติเชิงสหวิทยาการ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยฯ. (2562). ข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในปีพ.ศ. 2551 - 2561. (Data file). โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยฯ.

จรัณธร บุญญานุภาพ. (2546). การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จานนท์ ศรีเกตุ. (2552). ผลของกิจกรรมชุมชนที่มีต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

จารุมาศ เมฆสัมพันธ์. (2564). จากต้นน้ำถึงปากแม่น้ำ บทบาททางนิเวศอุทกวิทยาและการจัดการเชิงอนุรักษ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิตรภณ สุนทร. (2561). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปกร, 11(2), 82-95.

ชาริญาณ์ คงทุง. (2558). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณถนนราชพฤกษ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

แทนทัศน์ เพียกขุนทด และ อาภาพรรณ สัตยาวิบูล. (2563). พื้นที่ริมน้ำ: ความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา ลุ่มน้ำท่าจีน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(2), 30-44.

นครินทร์ บำรุงศรี. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณธาตุอาหาร (ไนเตรท แอมโมเนีย และฟอสฟอรัสทั้งหมดในน้ำ) กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

นิพนธ์ พัวพงศกร. (2560). ภาพอนาคตในปี 2035 ที่ดิน พลังงาน และน้ำในประเทศไทย. ใน โรงแรมดิเอมเมอรัลด์, งานสัมมนาภาพอนาคตในปี 2035 : ที่ดิน พลังงาน และน้ำในประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

บรรเจิด พลางกูร. (2523). ทรัพยากรที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน.

พระคงศิลป์ เขื่อนอัน. (2553). คุณภาพน้ำและตะกอนดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำย่อยฝั่งตะวันตกแม่น้ำน่าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

พาลินทุ์ วุฒิชาติวานิช. (2558). ผลกระทบเมื่อประชากรโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะ Urban Sprawl. https://www.ftpi.or.th/2015/2791.

มานพ พงศทัต. (2527). รูปแบบการใช้ที่ดินระบบและโครงสร้างการสัญจรของกรุงเทพมหานคร: การพัฒนาและแนวโน้มในอนาคต. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวิชญ์ สิงหนาท. (2563). การจัดการคุณภาพน้ำ 2020. http://49.231.15.21/deptw2/upload/files/bsmeF256308251322418090.pdf.

วราภรณ์ สีหนันทวงศ์. (2547). การศึกษาแนวโน้มสภาพการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำปิง-วังเพื่อการวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

วัสมน บุญชูศรี. (2558). ผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของตะกอนภายในลุ่มน้ำท่าจีน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2555). โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ลุ่มน้ำเพชรบุรี. http://tiwrmdev.hii.or.th/web/attachments/25basins/19-petchaburi.pdf.

สามารถ ใจเตี้ย และพัฒนา บุญญประภา. (2562). ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากปัญหาคุณภาพน้ำและข้อเสนอแนะกิจกรรเฝ้าระวัง กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 23(1), 32-46.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและมาตรการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี. (2556). พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดเพชรบุรี. http://www.phetchaburi.go.th.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8. (2561). รายงานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินประจำปี 2561. http://www.reo08.mnre.go.th/th/information/list/999.

สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (USGS). (2562). ภาพถ่ายจากดาวเทียม. (Data file). http://earthexplorer.usgs.gov/.

หวานใจ หลำพรม. (2560). รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 313-330.

อินทิรา เผ่าจินดา. (2530). คุณภาพน้ำทางแบคทีเรียวิทยาของแม่น้ำแม่กลองตอนบน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

Camara, M., Jamil, N.R. & Abdullah, A.F.B. (2019). Impact of land uses on water quality in Malaysia: a review. Ecological Processes. 8, 10.

Yadav, S., Babel, M.S., Shrestha, S. et al. (2019). Land use impact on the water quality of large tropical river: Mun River Basin, Thailand. Environ Monit Assess. 191, 614.