ผลกระทบต่อพื้นที่สีเขียวในตำบลเสาธงหินและตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ อันเนื่องมาจากการขยายตัวของจังหวัดนนทบุรี ระหว่าง พ.ศ.2525 – 2564

Main Article Content

Kanitha Chitchang
กนกวรรณ เชยกลิ่นพุฒ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบต่อพื้นที่สีเขียวในตำบลเสาธงหินและตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ อันเนื่องมาจากการขยายตัวของจังหวัดนนทบุรี ระหว่างพ.ศ.2525 - 2564” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดลงของพื้นที่สีเขียวในตำบลเสาธงหินและตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 3. เพื่อศึกษานโยบายการสร้างพื้นที่สีเขียวทดแทนและสาเหตุของปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานดังกล่าวในตำบลเสาธงหินและตำบลบางแม่นางอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ของทั้งสองตำบลในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ก่อนการขยายตัวจนกลายมาเป็นเมืองที่มีความทันสมัยแบบในปัจจุบันนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมมาก่อนและประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้และปลูกข้าว วิถีชีวิตของผู้คนในจังหวัดมีความเรียบง่าย แม่น้ำและลำคลองเป็นเส้นทางหลักที่ใช้สำหรับการคมนาคม ความเปลี่ยนแปลงของจังหวัดนนทบุรีที่สามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุดเกิดขึ้นหลังจากการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (ระหว่างพ.ศ. 2525 - 2529) เป็นต้นมา เนื่องจากแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวส่งเสริมให้จังหวัดนนทบุรี ทำหน้าที่เป็นเมืองรองหรือเมืองปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการถ่ายโอนประชากรจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่นี่ให้มากขึ้น จากแผนพัฒนาฯ ได้เริ่มจากการตัดถนนใหม่เพื่อนำความเจริญเข้ามาสู่ชาวนนทบุรี พื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมถูกแทนที่ด้วยสิ่งก่อสร้างรูปแบบต่าง ๆ การคมนาคมทางบกกลายเป็นเส้นทางสายหลักที่ใช้สำหรับคมนาคมแทนที่การเดินทางทางน้ำ การขยายตัวของเมืองลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วจังหวัดนนทบุรี เมื่อเมืองเกิดการขยายตัวและพัฒนาจึงเริ่มมีนักลงทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากรอพยพเข้ามาอยู่อาศัยทั่วทุกพื้นที่ ทำให้เกิดโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมจำนวนมาก การเข้ามาของความเจริญเหล่านี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนนทบุรีจากที่ส่วนใหญ่เคยประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้หันไปประกอบอาชีพอื่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่อพยพเข้ามาอยู่ได้ อาทิ อาชีพด้านพาณิชยกรรม ด้านโลจิสติก ซึ่งจากอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นนำมาสู่การก่อสร้างอาคาร ทั้งเพื่อการประกอบธุรกิจและเป็นที่อยู่อาศัย จนกระทั่งจังหวัดนนทบุรีขยายตัวและมีภาพลักษณ์ของการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แต่ทว่ากลับส่งผลให้ปริมาณพื้นที่สีเขียวของจังหวัดนนทบุรีลดลงไปเป็นจำนวนมาก การสูญเสียพื้นที่สีเขียวทำให้จังหวัดนนทบุรีต้องประสบปัญหาทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ทางจังหวัดนนทบุรีและประชาชนได้พากันจัดโครงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับจังหวัดแต่ก็ไม่เพียงพอที่จะสามารถใช้แก้ปัญหาสภาพแวดล้อมระยะยาวได้ เนื่องจากปัญหาด้านการขาดงบประมาณ ตลอดจนมาจากปัญหาด้านการปลูกฝังจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักรู้ร่วมกันถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ แสงธรรมทวี และชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล. (2561). ผลกระทบจากการก่อสร้างถนนต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพในจังหวัดนนทบุรี กรณีศึกษา ชุมชนริมคลองอ้อมนนท์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร). http://.www.ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/895.

ไขข้อข้องใจ!? น้ำท่วม ย่านแคราย-งามวงศ์วาน เกิดจากอะไร ทำไมแก้ไม่ได้..?. [ม.ป.ป.]. [เวบบล็อก]. https://.www.js100.com/en/site/post_share/view/56182.

เจาะเหตุผลทำไมนนทบุรีจึงเป็นเมืองที่สองของคนกรุงเทพฯ. [ม.ป.ป.]. [เวบบล็อก]. http://.www.terrabkk.com/articles/199100/เจาะเหตุผลทำไม-นนทบุรี-ถึงเป็นเมืองที่สองของคนกรุงเทพฯ.

ชยากรณ์ กำโชค. (2562). รู้จักกับ Urban Forestry เมื่อต้นไม้บนตึกในเมืองคืออนาคตของโลกใบนี้. [เว็บบล็อก]. https://.www.theurbanis.com/environment/19/11/2019/233.

ชาวบ้านร้องถูกเจ้าของอาคารพาณิชย์รุกล้ำพื้นที่ ด้านคู่กรณีโต้! ไม่ได้รุกล้ำมั่นใจในกรรมสิทธิ์ที่ดิน.( 2564). [เวบบล็อก]. https://news.ch7.com/detail/527847.

เซ็นทรัล เวสต์เกต. [ม.ป.ป.]. [เวบบล็อก]. https://www.central.co.th/th/store/central-plaza-westgate.

เทศบาลเมืองบางแม่นาง.[ม.ป.ป.]. แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2560 - 2563). Facebook. https://www.bangmaenang.go.th/public/list/data/detail/id/94/menu/1589/page/1/catid/81

เทศบาลตำบลเสาธงหิน. [ม.ป.ป.]. แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 - 2565). Facebook. https://www.sth.go.th/public/list/data/detail/id/3473/menu/1196/page/3/catid/2

เทศบาลเมืองปากเกร็ด. (2564). โครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี. https://.www.pakkretcity.go.th/duriannon/story/.

บางใหญ่ในอดีต.[ม.ป.ป]. https://board.postjung.com/1162691.

ประวัติความเป็นมาบางแม่นาง.[ม.ป.ป.]. [เวบบล็อก] https://.www.bangmaenang.go.th/public/list/data/index/menu/1142.

ภควุฒิ ทวียศ. (2562). คน พื้นที่ เมืองและอุตสาหกรรม: ว่าด้วยเรื่องปฏิสัมพันธ์ของคนกับการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองพระประแดงยุคพัฒนา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 41(1), 104-128.

ภาณุ เอี่ยมต่อม. (2552). การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของบางใหญ่ช่วงปีพ.ศ. 2495-ปัจจุบัน. https://.www.doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2009.858.

ยงยุทธ บุตรศรี. (2562). จ.นนทบุรี แจง‘อิศรา’ปมสอบบุกรุกที่สาธารณะหมู่บ้านดังย่านบางใหญ่. https://.www.isranews.org/content-page/item/74659-news-74659.html.

รถไฟฟ้าสายสีม่วง. [เวบบล็อก]. https://.www.ananda.co.th/blog/thegenc/รถไฟฟ้าสายสีม่วง/.

รู้จักย่านบางใหญ่แบบเจาะลึก. [เวบบล็อก] https://.www.ddproperty.com/areainsider/บางใหญ่/.

สาลินี ศุกลรัตนเมธี. (2555). การขยายตัวของชุมชนบริเวณชานเมืองกับความยั่งยืนทางสังคม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 26, 33-48. https://.www.so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48645.

สุทธิพันธุ์ พุฒิเลอพงศ์. (2554). แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อการรองรับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง. วารสารวิชาการและวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(2), 53-63.

สุพาพรรณ สกุลเจริญพร. (2564). จังหวัดนนทบุรีกับการขยายตัวของบ้านจัดสรรระหว่าง พ.ศ.2525-2537. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 43(1), 135-152. https://.www.so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/view/252046/171094.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525 - 2529. [ม.ป.ป.] https://.www.nesdc.go.th/ewt_w3c/more_newsphp?cid=230&filename=index.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนนทบุรี. (2561). สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนนทบุรี จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ โครงการประชารัฐร่วมใจปลูกต้นไม้ให้แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ. http://.www.nonthaburi.mnre.go.th/th/news/detail/19534.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน. [ม.ป.ป]. Facebook. http://www.osmnorthcentral1.go.th/nonthaburi/about.

โสวัตรี ณ ถลาง. (2562). จากชุมชนชานเมืองสู่ความเป็นเมืองทุนนิยม กรณีศึกษาพื้นที่นนทบุรี. วารสารมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(2), 149-190. https://.www.research.ku.ac.th/forest/Publish.aspx?PublishID=26663.

อำนาจ จำรัสจรุงผลและเอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน. (2558). ผลกระทบของการพัฒนาเมืองต่อการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวภาคการเกษตร กรณีศึกษาคลองอ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 29, 337-385. https://.www.so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44276.

Depa Thailand, (2564). “เมืองอัจฉริยะ” หรือ Smart City. https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan.

Dobson, Julian. & Dempsey, Nicola. (2021). Known but not done: how logics of inaction limit the benefits of urban green spaces, Landscape Research, 46(3), 390-402, https://www.tandfonline.com/loi/clar20.

Muang-krabi. (2561). ประวัติความเป็นมา. [เวบบล็อก]. https://.www.district.cdd.go.th/bangyai/about-us/ประวัติความเป็นมา/.

Nuntanach D. (2559). เตรียมเวนคืนมอเตอร์เวย์ปี 59 “บางใหญ่-กาญจน์”. [เวบบล็อก]. https://www.thinkofliving.com/ข่าว/เตรียมเวนคืนมอเตอร์เวย์ปี-59-บางใหญ่-กาญจน์-268486/.

HDร้อนออนไลน์. (2564). ชาวบ้านร้องถูกเจ้าของอาคารพาณิชย์รุกพื้นที่. [เวบบล็อก]. https://www.news.ch7.com/detail/527847.

PoGuS BigBooM. (2562). ภาพในอดีตจังหวัดนนทบุรี. [เวบบล็อก]. https://board.postjung.com/1162691