กระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนบ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน The Black Lahu cultural inheritance process children and Youth in Ban Ja Bo community based tourism area Pang Mapha district, Mae Hong Son Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนบ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้และวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้วัฒนธรรมการเป่าแคนน้ำเต้าของกลุ่มชาติพันธุ์ละหู่ดำ และสร้างกระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมการเป่าแคนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำจากปราชญ์ชุมชนสู่กลุ่มเด็กและเยาวชน ในพื้นที่การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านจ่าโบ่ ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 คน
ผลการวิจัย พบว่า ชาวลาหู่ดำมีความเชื่อว่าลูกน้ำเต้านั้นเป็นต้นกำเนิดของชาว ลาหู่ จึงส่งเสียงหรือสัญญาณผ่านลูกน้ำเต้าให้เทพพระเจ้าได้รับฟังในพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้เทพเจ้าประทานพรให้สังคมชาวลาหู่ดำเนินวิถีชีวิตอย่างสงบสุข แคนหน่อจิ๊แหละ เป็นเครื่องดนตรีเครื่องเป่าประเภทลิ้นอิสระในตระกูลแคนมีขนาดเล็กสุดเมื่อเทียบกับแคนที่พบในชุมชน ใช้สำหรับการบรรเลงประกอบพิธีกรรมและงานเทศกาลต่างๆ มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ลูกน้ำเต้าทรงงาช้าง ไม้ไผ่ท่อเสียง ไม้ไผ่ลิ้นปี่ ขี้มิ้นหรือชันโรง วิธีการการเป่าจะใช้ทั้งมือซ้ายและขวาในการเปิดปิดรูท่อเสียงทั้ง 5 และเป่าลมเข้าเครื่องดนตรีจากปลายลูกน้ำเต้า ในปัจจุบันการถ่ายทอดวัฒนธรรมการเป่าแคน เป็นแบบเรียนรู้ร่วมกับการปฏิบัติจริงตามสถานการณ์แบบสมัครใจ ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน มีกระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมการเป่าแคนหน่อจิ๊แหละ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน บ้านจ่าโบ่ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. การเตรียมความพร้อม 2. การดำเนินกิจกรรม 3. การประเมินผล 3 องค์ประกอบการสืบทอดวัฒนธรรม 4. การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา 5. การเผยแพร่สู่สังคม และผลการประเมินองค์ประกอบของกระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมชุมชน คือ ผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรม 4.42 วิธีการและสื่อในการถ่ายทอดวัฒนธรรม 4.33 และผู้รับการถ่ายทอด 4.10
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลพร สงมี. (2543). การถ่ายทอดความรู้ในการใช้สมุนไพรที่มีผลต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางกายภาพและการพึ่งตนเอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
จะงะ แสงอองและคณะ. (2548). โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีด้านดนตรี (หน่อ) ของชนเผ่าลาหู่แซแล บ้านห้วยริน ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ธนพชร นุตสาระ. (2559). ดนตรีมูเซอกับวัฒนธรรมสังคมใหม่ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน.งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่:สนับสนุนงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2556). การสืบทอดทางวัฒนธรรม (cultural inheritance) ที่ประสบความสำเร็จ. http://nattawats.blogspot.com/2013/04/cultural- inheritance.html.
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โมเดลซิปปา (CIPPA Model).วารสารวิชาการ, 2(5), 29.
สมชัย ใจดีและยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. (2545). ประเพณีและวัฒนธรรม. ไทยวัฒนา พาณิช.
องอาจ อินทนิเวศ.(2559). องค์ความรู้ จิตสำนึกรักษ์และกระบวนการสืบทอดภูมิปัญญา ด้าน ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากกรม ส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ 2559.
อมรา พงศษพิชญ์ (2541). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์:วิเคราะห์สังคมไทยแนว มานุษยวิทยา. (5).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bloom B S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educationalgoals -Handbook I: Cognitive Domain. McKay.
Deming,w.Edward (1995) Out of the Crisis. The Massachusetts Institue of Technology Center for Advanced Engineering Study.
Frost Alan. 2010. Building Knowledge Mannagement Framworks and Models. http://www.knowledge-management- tools.net/knowledge management framework.html.
Nonaka, Ikujiro and Hirotaka, Takeuchi, (1995). The knowledge creating company: How Japanese companies create the dynamics of innovation. Oxford University.
William Edwards Deming. (2563). วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA: Deming Cycle). http://adisony.blogspot.com/2012/10/edward- deming.html.
สัมภาษณ์
ศรชัย ไพรเนติธรรม. สถานการณ์การท่องเที่ยวและผลกระทบต่อทุนทางวัฒนธรรมชุมชน บ้านจ่าโบ่. สัมภาษณ์, วันที่ 30 กันยายน 2562.