ความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของผู้ปลูกมะยงชิดในจังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2) ศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของผู้ปลูกมะยงชิดในจังหวัดนครนายก 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปลูกมะยงชิดต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และปัจจัยทางเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปลูกมะยงชิดจำนวน 177 ราย สุ่มตัวอย่าง โดยวิธีกำหนดสัดส่วน จากบัญชีรายชื่อผู้ปลูกมะยงชิดของแต่ละอำเภอ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปลูกมะยงชิดส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.89) มีอายุเฉลี่ย 60.25 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 48.59) อาชีพหลัก คือ เกษตรกร (ร้อยละ 71.75) รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 14,322.03 บาท มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน ผู้ปลูกมะยงชิดมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.17) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ปลูกมะยงชิดที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนครนายก ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา (2564). Covid-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา.
กุลวดี ละม้ายจีน. (2552). วัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. (เอกสารประกอบการสอน) [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
จันทร์จิรา สุขบรรจง. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].
ธวัชชัย สหพงษ์ และ จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2559). ความคิดเห็นของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยที่มีต่อมหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นภาพร สิงห์นวล และ พรนภา เตียสุธิกุล. (2564). การศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนบ้านคลองอาราง ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 143 – 154.
พิสิทธิ์ อุดชาชน และคณะ. (2558). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารของ เทศบาล ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย].
รัชฎาพร เลิศโภคานนท์ และ วิเชียร เลิศโภคานนท์. (2557). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านเหมืองกุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมเชิงปัญญาท้องถิ่น. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 12(1), 22 - 38.
รัตนาภรณ์ โพธิ์กุล. (2559). กลยุทธิ์การจัดการของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
รัตมณี นาคคล้าย. (2562). ความคิดเห็นที่มีต่อการผลิตมะยงชิดนครนายกของเกษตรกร ในอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
ราณี อิสิชัยกุล และคณะ. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอาเซียน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
รุ่งนภา พันธ์จันทร์. (2557). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
วรพล วัฒนเหลืองอรุณ. (2544). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระบบเหมืองฝายภูมิปัญญาชาวบ้าน : กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยอีค่าง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการกำหนดนโยบายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครนายก. (2562). ข้อมูลวางแผนการผลิตมะยงชิด 2562. https://www.opsmoac.go.th/nakhonnayok-dwl-files-412791791913.
สำนักงานจังหวัดนครนายก. (2563). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก. http://ww2.nakhonnayok.go.th.
สุธีรา อาคม. (2559). ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคตการปลูกลางสาดในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. Harper & R.