สถานภาพและบทบาททางการเมืองของผู้หญิงชนชั้นสูงในราชสำนักสมัยธนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและบทบาททางการเมืองของผู้หญิงชนชั้นสูงในราชสำนักสมัยธนบุรี ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาจากเอกสาร โดยยึดระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ในการดำเนินการวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ คือ การศึกษาทบทวนตรวจสอบเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งหลักฐานชั้นต้นและชั้นรอง การวิพากษ์หลักฐาน วิพากษ์ข้อมูล ตีความข้อมูล สังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ และนำเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้หญิงชนชั้นสูงในราชสำนักสมัยธนบุรี ได้แก่ หม่อมเจ้ามิตร หม่อมเจ้ากระจาด หม่อมเจ้าอุบล หม่อมเจ้าฉิม เจ้าจอมฉิมหรือกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ รวมถึงเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ มีสถานภาพเป็นภรรยาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี อีกทั้งยังมีชาติกำเนิดเป็นชนชั้นสูง ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นเครือญาติกับผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกครองในฐานะลูกสาวหรือหลานสาว สถานภาพดังกล่าวส่งผลให้ผู้หญิงชนชั้นสูงข้างต้นมีบทบาททางการเมืองในลักษณะของการเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายทางการเมือง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2505). รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช. รุ่งเรืองรัตน์.
กรมศิลปากร. (2512). พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช ของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม 31 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 53 (ต่อ) – 57) พงศาวดารเมืองสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ชวา และโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค 1. องค์การค้าของคุรุสภา.
กรมศิลปากร. (2512). พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65-66) พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี จดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี. องค์การค้าของคุรุสภา.
คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. (2523). ประชุมหมายรับสั่งภาคที่ 1 สมัยกรุงธนบุรี. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
จงจิตต์ โศภนคณาภรณ์. (2554). สังคมวิทยาสตรี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิรานุช โสภา. (2542). บันทึกเรื่องผู้หญิงในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ชลทิศา จำปาเทศ. (2535). บทบาทสตรีในประวัติศาสตร์ชาติไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2545). บทบาทและสถานภาพของผู้หญิงกับการเมืองในประวัติศาสตร์สังคมไทย. ศิลปวัฒนธรรม, 23(7), 62-70.
วัยอาจ, เดวิด เค. (2557). Thailand: A short History [ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป] (พิมพ์ครั้งที่ 3). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ธิดา สาระยา. (2552). อารยธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เมืองโบราณ.
นรินทรเทวี, กรมหลวง. (2471). จดหมายเหตุความทรงจำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2.). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
นรินทรเทวี, กรมหลวง และ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระฯ. (2561). จดหมายเหตุความทรงจำ ของกรมหลวงนรินทรเวที และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะตอน พ.ศ. 2310-2363). ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
นวชนก วิเทศวิทยานุศาสตร์. (2550). บทบาทด้านการเมืองและสังคมของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2416-2476) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2562). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. (พิมพ์ครั้งที่ 14). มติชน.
นิพัทธพงศ์ พุมมา และณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์: ผู้หญิงกับอำนาจ
เชิงพื้นที่ในหลากมิติ. วารสาร มฉก. วิชาการ, 15(30), 71-88.
บุญเดิม ไพเราะ. (2519). สถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ปรามินทร์ เครือทอง. (2558). “ท้องกับเจ๊ก” การเมืองราชสำนักฝ่ายเรื่องซุบซิบเจ้าหญิงอยุธยาในพระเจ้าตากสินฯ. ศิลปวัฒนธรรม, 36(11). https://www.silpamag.com/history/article_39939.
ปรีดา ศรีชลาลัย และอบทิพย์ แดงสว่าง. (2522). ลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรีและสายสัมพันธ์ของสกุลจาตุรงคกุล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์การรถไฟ.
พรศิริ บูรณเขตต์. (2540). นางใน: ชีวิตทางสังคมและบทบาทในสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ฉบับหมอบรัดเล. (2551). (พิมพ์ครั้งที่ 3). โฆษิต.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน. (2563). ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา เล่ม 2 ตอน 1. (2495). โอเดียนสโตร์.
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา เล่ม 2 ตอน 2. (2495). โอเดียนสโตร์.
มาลี พฤกษ์พงศาวลี. (2551). ย้อนรอยสิทธิความเป็นคนของผู้หญิง. ออฟเซ็ท.
วรรณภา โพธิ์น้อย. (2553). “สถานภาพและบทบาทชายหญิงในสังคมโลก” ประมวลสาระชุดวิชาการศึกษาบทบาทชายหญิง สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีณา เอี่ยมประไพ. (2555). การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของสตรีฝ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2559). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา พลศรี. (2553). หลักสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอเดียนสโตร์.
สมฤทธิ์ ลือชัย, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และมนตรี รักษาดี. (2561). มุมมองใหม่: พระเจ้าตากสิน (เอกสารสรุปการเสวนา “มุมมองใหม่ในประวัติศาสตร์พระเจ้าตากสินมหาราช” จัดโดยสถาบันอยุธยาศึกษา 7 มิ.ย. 2555) ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บ.ก.). มุมมองใหม่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสิน มหาราช (หน้า 248-281). (พิมพ์ครั้งที่ 2). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
สุดารา สุจฉายา. (2561). ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สารคดี.
สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2546). ขัตติยนารีแห่งราชอาณาจักรสยาม. ศิลปวัฒนธรรม, 24(3), 70-99.