ปทัสถานทางสังคมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

Main Article Content

Dr.Chattawat Shatnataphat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับปทัสถานทางสังคม และ 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปทัสถานทางสังคมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็นกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.925 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลกับปทัสถานทางสังคม เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือนละ 20,001-30,000 บาท และ 2) ปทัสถานทางสังคมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 1) ด้านกฎหมาย (Laws) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายไม่สามารถโต้แย้งได้ โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมือง เสรีภาพพลเมือง 2) ด้านวิถีชาวบ้าน (Folkways) กฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์แสดงออกตามวิถีชีวิตและสังคมที่ตนได้รับการฝึกฝนและขัดเกลา และ 3) ด้านกฎศีลธรรม (Morals) อุปนิสัย อุปนิสัย ความเอื้อเฟื้อ คือส่วนในของบุคคล รู้สิ่งเหล่านี้จากกิริยาที่แสดงออกทางกาย วาจา และเมื่อทำการทดสอบสมมุติฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างปทัสถานทางสังคมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ทุกด้านยอมรับสมมติฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัญญัติ แพรกปาน. (2565). การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยกับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน. วารสารจุฬา

นาครทรรศน์, 9(4), 543-550.

บ้านจอมยุทธ. (2563). องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม ปทัสถานทางสังคม (Norms). https://www.

baanjomyut.com/library_3/extension-5/social_organization/01.html#.

มนตรี เจนวทิ ยก์ าร. (2562). กลไกและกฎเกณฑใ์ นการสรา้ ง “ความพรอ้ มรบั ผดิ ทางการเมอื ง” ในระบอบ

ประชาธิปไตยของไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 6(1), 1-26.

วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา. (2560). ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะ

เปลี่ยนผ่าน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 4(3), 1-12.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรง, สุรีย์ลักษณ์ รักษาเคน, (2561). เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ

บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,8(2), 26-41.

สุขสมัย น่าบัณฑิตย์ และคณะ. (2564). ปรัชญากฎหมายธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช 2560. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(4), 160-173.

สุทธิมา ชำนาญเวช. (2564). การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล ศรีวิทยา. (2560). การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ:ศึกษาเปรียบเทียบ

กับต่างประเทศ. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.