บล็อกเชนกับการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไทย

Main Article Content

SUTEEKARN SOMNUAL
ศิริรัตน์ แอดสกุล

บทคัดย่อ

บล็อกเชน เทคโนโลยีที่เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในการดำเนินธุรกรรมในปัจจุบันโดยเฉพาะธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยีบล็อกเชน คือการที่ไม่สามารถกลับไปแก้ไขธุรกรรมนั้นๆ ที่ได้รับการยืนยันความถูกต้องโดยผู้จัดทำมาแล้วได้ และไม่อาศัยคนกลางมาดำเนินการทางธุรกรรม ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นความน่าสนใจของบล็อกเชนที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าพลังงานไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทแทบทุกกิจวัตรของผู้คน อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และอาคารบ้านเรือน ฉะนั้นส่งผลให้การดำเนินงานในองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าของรัฐมีแนวโน้มดำเนินการผลิตและส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กร อาทิ งานก่อสร้าง งานจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อดำเนินในงานด้านผลิตและส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ฉะนั้น บล็อกเชนจึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ที่สามารถนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความโปร่งใส (Transparency) รวมถึงความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลการดำเนินงานให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐตลอดจนองค์กร และลดข้อกังขาหรือข้อพิพาทระหว่างองค์กรของรัฐและประชาชนในกรณีการทุจริต


บทความวิชาการฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาประยุกต์เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย โดยการนำแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะแนวทางความเป็นไปได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ. (2560). พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ.2560. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/024/13.PDF.

ภัทชา ด้วงกลัด. (2560). บล็อกเอ๋ยบล็อกเชน จงมาจองเวรกับคอร์รัปชัน. https://www.the101.world/blockchain-can-fix-corruption/.

ยุทธพงศ์ ปิ่นอนงค์. (2555). ประมวนกฎหมายอาญา มาตรา 157 กับปัญหาการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?

nid=34511.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล.(2562).BLOCKCHAIN for government services การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับภาครัฐ.https://www.oper.navy.mi.th/upload/pdf/Manual/BlockChain-for-Government-Services.pdf.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2562). เทคโนโลยีบล็อกเชน Blockchain ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตรและห่วงโซ่อุปทาน. https://www.depa.or.th/th/article-view/article3-2563.

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ. (2560). พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ.2560. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/024/13.PDF.

Accenture. (2016). How Blockchain can bring Greater Value to Procure-to- Pay Processes. https://www.accenture.com.

Chase, K. (2017). Japan Plans Blockchain Test for Government Procurement Process. https://dcebrief.com/ japan-plans-blockchain-test-for-government-procurement- process/.

IAMCONSULTING. (2564). 5 ข้อดีของการทำ ECM (Enterprise Content Management).https://www.iamconsulting.co.th/insight/detail/5%20ข้อดี20ECM%20%C2%A0

(%20Enterprise%20Content%20Management%20)%20ในองค์กร.

Oxford college of procurement & supply. (2565). The Benefits of Blockchain Technology in Procurement. https://www.oxfordcollegeofprocurementandsupply.com/the-benefits-of-blockchain-technology-in-procurement/.

TECHSAUCE. (22565). กรณีศึกษา: Blockchain จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาคอรัปชั่นของรัฐบาลได้อย่างไรบ้าง. https://techsauce.co/tech-and-biz/blockchain-reduce-corruption.