ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบวัฒนธรรมองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ วัฒนธรรมองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชา ในบริษัทอุตสาหกรรมกระดาษแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบวัฒนธรรมองค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อศึกษาตัวพยากรณ์ร่วมระหว่างภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบวัฒนธรรมองค์การที่สามารถทำนายผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชา ในบริษัทอุตสาหกรรมกระดาษแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานระดับบังคับบัญชาของบริษัทอุตสาหกรรมกระดาษแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 250 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานระดับบังคับบัญชามีระดับภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบอ่อนน้อมและแบบมีสติ วัฒนธรรมองค์การโดยรวมและผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง ส่วนบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวอยู่ในระดับต่ำ ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์แบบอ่อนน้อม แบบมีสติ และวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญ การปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง ส่วนบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวอยู่ในระดับต่ำ ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบอ่อนน้อม แบบมีสติและวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและวัฒนธรรมองค์การสามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบังคับบัญชาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Spiritual Leadership, Five-factor Model of Personality, Organizational Culture and Job Performance of Supervisor in Paper Industry, Kanchanaburi Province
The objectives of this research were to analyze the level of spiritual leadership, Five-Factor Model, organizational culture and job performance of supervisor in a paper industry company in Kanchanaburi Province. Secondly, it studied the relationship between spiritual leadership, Five-Factor Model, organizational culture and job performance of those supervisors. Thirdly, it aimed to determine the variables that could predict job performance of the supervisors. The samples of this research were 250 supervisors in a paper industry company. The results of the research showed high levels of spiritual leadership, Five-Factor Model in the dimensions of extraversion, openness to experience, agreeableness, conscientiousness, organizational culture and job performance but low level of Five-Factor Model in a dimension of neuroticism. Spiritual leadership, Five-Factor Model in the dimensions of extraversion, openness to experience, agreeableness, conscientiousness and organizational culture were positively related to job performance of supervisors in a paper industry company with statistical significant at 0.01 level. Only the Five-Factor Model in a dimension of neuroticism had a negative relationship with job performance at the 0.1 level Multiple regression analysis indicated that spiritual leadership, neuroticism, and organizational culture could predict job performance of supervisors with statistical significant at the 0.01 level.