แบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวในชุมชนดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรค์

Main Article Content

นภัสวรรณ ทรัพย์มา
ไฉไล ศักดิวรพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวในชุมชนดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปจำนวน 20 คน รวมทั้งผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอีกจำนวนหนึ่ง ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวในชุมชนดอนคาแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ ด้านสุขภาพ พบว่าการทำความสะอาดร่างกาย การแต่งกายและการดูแลเครื่องแต่งกายผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ส่วนใหญ่ขับถ่ายได้ปกติ การบริโภคอาหารเน้นอาหารท้องถิ่นโดยเป็นผักกับน้ำพริกหรือแกงเลียง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันได้ มีการออกกำลังกายจากการเดินไปมาหาสู่กัน การนอนมักมีปัญหานอนไม่หลับผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว การใช้บริการสุขภาพขึ้นกับลักษณะสุขภาพร่างกาย โดยการรักษา เริ่มจากการใช้ยาสมุนไพรจนถึงการไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ ในด้านสังคม พบว่าความพึงพอใจในชีวิตขึ้นกับปัญหาจากสุขภาพ ปัญหาสังคมและปัญหาการเงิน การจัดการความเครียดส่วนใหญ่เลือกปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกหลานและเพื่อนบ้านด้านเศรษฐกิจ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้จากลูกหลาน ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าสถานที่พักผ่อนภายในบ้านมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทสะดวกภายในชุมชนมีอากาศบริสุทธิ์ ระบบสาธารณูปโภคภายในชุมชนอยู่ในระดับที่ดี ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวให้ความสำคัญและปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีในชุมชนที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง มีความเชื่อเรื่องภพหน้าที่มีการเวียนว่ายตายเกิด

 

Lifestyle Patterns of Long - Lived Elderly in Donkha Community ThaTako District, NakhonSawan Province

This qualitative research aimed to study the pattern of lifestyle of the long-lived elders in Don Kha Community, Tha Tako District, Nakhon Sawan Province. Key informants in this study consisted of 20 elders who were 80 years old or above, including some community leaders and public health officers. The in-depth interview and participant observation were utilized for data collection.

The research found that there are four aspects of the pattern of lifestyle of the long-lived elders in Don Kha Community. The first one was about health. The elders could carry out body cleaning, dressing, and apparel care on their own. They could excrete regularly. For meals, they focused on local diet of vegetables with chili paste or mixed spicy vegetable soup. Most of them could move their bodies in daily lives. They did exercise by walking to visit one another. Most of them suffered from insomnia, but did not have chronic health conditions. Their uses of health services depended on their health ranging from applying herbal medicine to visiting district hospital. The second one was about social condition. Their life satisfaction depended on health and financial problems. They managed their stress with religious activities. All elders had good relationship with their descendants and neighbors. The third one was economic dimension. Most elders received money from their descendants. The last one was about environmental condition. Living area in their homes had adequate light and air flow. There was fresh air in the community. The infrastructure in the community was also good. The elders and their family members followed traditional culture. They believed in the Law of Karma and Rebirth.

Article Details

บท
บทความวิจัย