ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยทางการเงิน และการมีส่วนร่วมของสมาชิกกับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

กรกนก น้อยแนม
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี
ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความเข้มแข็ง ของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ด ร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างวินัยทางการเงินของสมาชิกและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยสมาชิกสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเ คราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่าความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 อยู่ในระดับปานกลาง วินัยทางการเงินของสมาชิกอยู่ในระดับสูง และการมีส่วนร่วมของสมาชิกอยู่ในระดับต่ำ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมาชิกที่มีอายุ อาชีพ และระยะเวลาในการเป็นสมาชิกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าวินัยทางการเงินของสมาชิก และการมีส่วนร่วมของสมาชิกมีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2

ข้อเสนอแนะ คือ สถาบันการเงินชุมชนควรสนับสนุนให้สมาชิกจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน สร้างจิตสำนึกให้สมาชิกในการเป็นเจ้าของสถาบันการเงินชุมชนร่วมกัน และส่งเสริมให้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ

 

The Relationship between the Member’s Financial Discipline, Participation and the Strength of Pak Kret Ruamjai 2 Community Financial Institution, Nonthaburi Province.

The purpose of this research were 3 folds: firstly, to study the opinions on strength of Pak Kret Ruamjai 2 Community Financial Institution, Nonthaburi Province; secondly, to compare the opinions on strength of such community financial institution classified by personal factors; and thirdly, to analyze the relationship between the member’s financial discipline, participation, and the opinions on strength of such financial institution. Sample group consisted of 342 members of Pak Kret Ruamjai 2 Community Financial Institution, Nonthaburi Province. Tools used to collect the data were questionnaires. Statistics used in the study included the percentages, the mean, and the standard deviation. Hypotheses were tested with the t-test, the one-way analysis of variance, and the Pearson’s product moment correlation coefficient. The statistical significance was set at the 0.05 level.

The study results showed that the strength of Pak Kret Ruamjai 2 Community Financial Institution was moderate. The financial discipline of members was high. Whereas, the member’s participation was low. Hypothesis testing revealed significant difference in opinions of members with different ages, careers, and periods of membership on the strength of Pak Kret Ruamjai 2 Community Financial Institution. Moreover, financial discipline of its members and participation of members correlated with the strength of Pak Kret Ruamjai 2 Community Financial Institution.

This research recommended that the community financial institution should encourage its members to prepare the monthly income–expense schedule, to create the awareness for its members with the sense of mutual ownership of the community financial institution and to encourage the activities to establish good relationship between members and the Board.

Article Details

บท
บทความวิจัย