การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต: กรณีศึกษาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดปทุมธานีให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต ในด้านการบริการสารสนเทศ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน รวมทั้งพัฒนารูปแบบและฝึกอบรมการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตให้บุคลากรห้องสมุดและประชาชนในชุมชนเบื้องต้นได้วางแผนพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามเพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนในชุมชน ผู้บริหาร บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ จำนวน 397 ฉบับ จากผู้เข้าใช้บริการห้องสมุดประชาชน 7 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอลาดหลุมแก้ว ห้องสมุดประชาชนอำเภอสามโคก ห้องสมุดประชาชนจังหวัดปทุมธานี ห้องสมุดประชาชนอำเภอคลองหลวง ห้องสมุดประชาชนอำเภอลำลูกกา ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอธัญบุรี และห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองเสือ หลังจากสำรวจความต้องการเบื้องต้นแล้วได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ผลการศึกษาดังนี้
การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-40 ปี ประกอบอาชีพอิสระ มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีใช้บริการห้องสมุดระหว่าง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้บริการบ่อยที่สุด คือ หนังสือ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการห้องสมุดที่พบบ่อย คือ หนังสือเก่า ล้าสมัยและหนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุดไม่ตรงกับความต้องการสำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการมีส่วนร่วมด้านการบริการสารสนเทศ ด้านทรัพยากรสารสนเทศและด้านความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง รูปแบบของห้องสมุดมีชีวิตที่ต้องการให้มีในอนาคตด้านการบริการ คือ ต้องการข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับห้องสมุด ด้านรูปแบบของข่าวสารต้องการข่าวสารบนบอร์ดประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ด้านทรัพยากรสารสนเทศ คือ ต้องการให้ห้องสมุดจัดหาหนังสือ ด้านรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศนั้นต้องการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และด้านกิจกรรมที่ต้องการให้ห้องสมุดจัดทำขึ้น คือ การแนะนำหนังสือใหม่
การพัฒนารูปแบบห้องสมุดมีชีวิตนั้น ผู้วิจัยนำผลจากการสำรวจเบื้องต้นมาวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้วยการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด พร้อมทั้งออกแบบระบบห้องสมุดมีชีวิตและพัฒนาระบบในด้านบริการสารสนเทศด้วยการจัดทำเว็บไซต์และฐานข้อมูล ส่วนด้านทรัพยากรสารสนเทศ จะพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการสแกนเอกสารและหนังสือที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในชุมชน รวมทั้ง จัดทำวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อความรู้ ตลอดจนติดตั้งระบบห้องสมุดมีชีวิต
การฝึกอบรมเน้นการพัฒนารูปแบบห้องสมุดมีชีวิตที่เหมาะสมให้ประชาชนในชุมชน ตลอดจนบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานห้องสมุดทั้ง 7 แห่ง พร้อมทั้งประเมินผลการฝึกอบรม ผลการประเมิน พบว่าผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 11-20 ปี เป็นนักศึกษา (กศน.) มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกอบรมห้องสมุดมีชีวิตในด้านหัวข้อวิชา ด้านวิทยากรและด้านความเหมาะสมของโครงการในภาพรวมพบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและได้นำผลจากการประเมินมาปรับปรุงเว็บไซต์เรื่องสีสัน เมนูและสารสนเทศที่นำเสนอ รวมทั้งฐานข้อมูลและด้านทรัพยากรให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ หลังจากนั้นได้ติดตามผลและเผยแพร่รูปแบบห้องสมุดมีชีวิตสู่ชุมชนต่อไป
The Participation of Community in Developinga Living Library: A Case Study in Pathumthani ProvincialPublic Libraries
The objectives of the research were to study community participation in developing a living public library in Pathum Thani province especially in the issues about the information services, information resources, and relationship between the library and the community. It also sought to develop a model and to pass on that development as well as the services of a living library to the person in charge and the people in the community. The researcher distributed the questionnaires to people of the community and the personel of the libraries to gather the data. Interviews and small group discussion were also held. The data were collected from 397 individuals from seven public libraries, namely, Chaloem Ratchakumaree Amphoe Lad Lum Kaeo Public Library, Amphoe Samkok Public Library, Pathum Thani Public Library, Amphoe Khlong luang Public Library, Amphoe Lam Luk Ka Public Library, Chaloem Ratchakumaree Amphoe Thanyaburi Public Library, and Amphoe Nong Suea Public Library. Statistical software was used to analyze the frequency, the percentages, and the standard deviation. The results are as follows.
1. Community participation in developing a living library: It was found that the majority of the samples were freelance female aged between 26-40 years, attained higher than the bachelor’s degree. The frequency of using resources in the libraries was 1-2 times per week. The most common activity was to read books, magazines, and newspapers. Books were the most frequently used information materials while the most common problem found in the libraries was that books were too old, outdated, and did not conform to their needs. Secondly, people would like to moderately participate in developing a living library in their community in the fields of information services, information materials, and public relations. Thirdly, news and services in the libraries were the most wanted services. Bulletin board should be used to advertise the information. Books were the most wanted information materials. Information materials should be in an electronic form. Introducing new books was the most important activity that libraries should carry out.
2. The results were used to formulate a model for living library development that would meet the needs of the community the most. Furthermore, the results used for designing and passing on the living library indicated that the most appropriate model was the one based on the actual community’s needs.
3. Regarding the library development by using training methodology, the researcher found that the majority of the workshops’ attendees were diploma education female students between the ages of 11-20 years old. The secondary attendees were government and public enterprise officers with a bachelor’s degree. The evaluations indicated high level of satisfaction among the attendees’ opinions regarding the topics, speakers, and the overall activities of the workshop. The follow up and evaluation implementation of this research were to improve the website in the context of colors, menu, and information presentation and the database and to publicize the living library to the general public in the future.