การศึกษาความสัมพันธ์ของความเชื่อทางศาสนา กับโครงสร้างอำนาจการเมืองไทย กรณีศึกษา คำสอนของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)

Main Article Content

ธนากร พันธุระ
อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเชื่อทางศาสนากับโครงสร้างอำนาจการเมืองไทย จากคำสอนของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี) ว่าอุดมการณ์และความหมายที่ถูกสร้างขึ้นจากคำสอนของพระว. วชิรเมธีนั้นคืออะไร สะท้อนภาพความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับการเมืองของประเทศไทยอย่างไรบ้าง รวมถึง มีรูปแบบการเผยแพร่คำสอนอย่างไรบ้าง ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การทบทวนเอกสารต่างๆ และการสังเกตผ่านโลกออนไลน์โดยเฉพาะเฟสบุ๊กของพระว.วชิรเมธี

ผลการศึกษาพบว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ในคำสอนของพระว.วชิรเมธี มีลักษณะที่เป็นสัญญะ จากข้อความธรรมะที่สั้น สื่อความหมายตรง รับรู้ได้ทันที โดยมีนัยยะทางการเมืองแฝงอยู่ เมื่อมองในมิติของเวลาและบริบททางสังคมทำให้สะท้อนภาพความสัมพันธ์ของศาสนา ความเชื่อ กับโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ในรูปแบบของการการรักษาระเบียบในสังคม การลดปฏิกิริยาต่อต้าน รวมถึงเป็นการตอกย้ำความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายชนชั้นนำในสังคม เนื่องจากสังคมไทยมีการขัดเกลา ให้เชื่อว่าพระสงฆ์ต้องเป็นผู้ที่ปราศจากกิเลส มีศีลธรรม มีความเป็นกลาง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงมายาคติ

ดังนั้นศาสนา ความเชื่อ และอำนาจทางการเมืองในประเทศไทยจึงมีความสัมพันธ์กันในด้านการสนับสนุนความชอบธรรมในการใช้อำนาจของชนชั้นนำในสังคมไทย รวมไปถึงมายาคติที่สร้างขึ้นผ่านวิธีคิดแบบพุทธ ทำให้เชื่อโดยปราศจากการสงสัยที่ไม่มีการตั้งคำถาม ตลอดจนการไม่กล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น

 

A Study of Relation between Buddhist Faith and Thai Political Power Structure : A Case Study of W.Vajiramedhi,s Teaching

The purpose of this article is to study the relations between the Buddhist faith and the structure of Thai politics from Phra W. Vajiramedhi,s teaching in order to elaborate its ideology and meaning as well as its reflections on such relation. In addition, this study also explains the ways of propagation by Phra W. Vajiramedhi. The researcher collected qualitative data by in-depth interviews, reviews of secondary data from documents and online sources particularly Phra W. Vajiramedhi,s Facebook.

The results show that according to Buddhist doctrine, Phra W. Vajiramedhi,s teaching is a sign which is short, fitting, practical, and directly meaningful with political implications. Regarding time and social context, it reflects the relations between faith and political power structure in terms of social orders, reduction of resistant behavior and justice reappraisal for Thai society elites. Such relation is created by the monk who has no desire and no interest in matters of laymen. However, this is just the myth.

Therefore, religion, faith, and Thai political power are related to support legitimacy in the use of justice by Thai elites. Moreover, the myth, through W. Vajiramedhi’s teaching along with the Buddhist faith makes people greatly believe its meaning without doubt and dare not criticize the socio-cultural phenomenon.

Article Details

บท
บทความวิจัย