ความเชื่ออำนาจในตน การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง ทักษะทางสังคมและ สัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกระทรวงสาธารณสุขด

Main Article Content

วรัตถ์นันท์ ศรีวิเศษ
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความเชื่ออำนาจในตน การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง ทักษะทางสังคมและสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล เพื่อเปรียบเทียบสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาลตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน กับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจในตนกับสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองกับสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางสังคมกับสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 397 คน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเชื่ออำนาจในตนทักษะทางสังคม และสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลืออยู่ในระดับสูง ขณะที่การเรียนรู้โดยการกำกับตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือ ความเชื่ออำนาจในตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่าทักษะทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Internal Locus of Control, Self-Regulation Learning, Social Skills and Helping Relationship of Nursing Students at a College of Nursing, Ministry of Public Health.

The objectives of this study were, first, to study level of internal locus of control, self-regulation learning, social skills and helping relationship of nursing students. Secondly, to compare the helping relationship of nursing students by different personal factors. Thirdly, to study the relationship between internal locus of control and helping relationship of nursing students. Fifth, to study the relationship between self-regulation learning and helping relationship of nursing students. Finally, to study the relationship between social skills and helping relationship of nursing students. Samples were 397 nursing students of a Nursing College in the Ministry of Public Health. The data were collected by questionnaires and analyzed by a statistical package program. The statistical methods used for analysis were the percentages, the arithmetic mean, the standard deviation, the t-test, the analysis of variance, and the Pearson’s product moment correlation coefficient. The results were as follows. First, internal locus of control, social skills and helping relationship were at high level while self-regulation learning was moderate. Second, different personal factors had no effect on helping relationship. Thirdly, internal locus of control was positively related to helping relationship at the 0.01 statistical significance level. Fourthly, self-regulation learning was positively related to helping relationship at the 0.01 statistical significance level. And finally, social skill was positively related to helping relationship at the 0.01 statistical significance level.

Article Details

บท
บทความวิจัย