การปรับตัวของเกษตรกรจากปัญหาการปลูกมะพร้าว ในเขตอำเภอทับสะแกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาของเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าว ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และระดับการปรับตัวของเกษตรกรดังกล่าว นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการปรับตัวของเกษตรกรและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาของเกษตรกรกับการปรับตัวของเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวเหล่านั้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าว ทั้ง 6 ตำบล ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 363 คน และสัมภาษณ์เจาะลึกเกษตรกร จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปนกรวน การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีความแตกต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวมีปัญหาอยู่ในระดับสูง และมีการปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา จำนวนการถือครองที่ดิน รายได้จากการทำสวนมะพร้าว และรายได้นอกเหนือจากการทำสวนมะพร้าวที่แตกต่างกันมีการปรับตัวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่แตกต่างกันมีการปรับตัวที่ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาของเกษตรกรโดยรวมด้านภัยแล้ง ศัตรูพืช และราคาผลผลิตตกต่ำไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของเกษตรกรในภาพรวม
The Adaptation to the Problems of Farmers Cultivating Coconut inThap Sakae District, PrachuapKhiri Khan Province
The objectives of this research were, first, to study level of the problems and adaptation of farmers cultivating coconut in Thap Sakae District, Prachuap Khiri Khan Province; second, to study level of adaption of those farmers, thirdly, to compare the farmer’s personal factors of adaptations to the problems, and fourthly, to investigate the relationship between the problems of farmers and their adaptations. The samples of this study were 363 coconut farmers from six sub-district in Thap Sakae District, Prachuap Khiri Khan Province. Ten of them took part in the in-depth interviews. Data were collected by questionnaire. Statistics used for data analysis were the percentages, the arithmetic mean, the standard deviation, the analysis of variance, the least significant difference method and the Pearson’s product moment correlation coefficient. Statistically significance was set at 0.05 level. Research indicated that farmer’s problems were at high level while their adaptations were at the moderate level. Farmers with different personal factors, namely education level, land ownership, income from coconut cultivation, and extra income significantly affected the adaptations of farmers at the 0.05 statistical significance level. Moreover, demographic factors including age and family size had no effect on the adaptations of farmers. Overall, most of the farmer’ s problems resulted from drought, pest, and decline in production price, had no correlation with the adaptations of farmers cultivating coconut in Thap Sakae District.