อิทธิพลของการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และการเห็นคุณค่าในตนเองต่อความผาสุกของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง และระดับความผาสุกของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบความผาสุกของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และอายุงาน และเพื่อหาอิทธิพลของการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีต่อความผาสุกของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง จำนวน 165 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมประยุกต์สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่าระดับการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การเห็นคุณค่าในตนเอง และความผาสุกของพนักงาน อยู่ในระดับสูงทั้งหมด พนักงานฝ่ายผลิตที่มีอายุต่างกันมีความผาสุกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาสถานภาพสมรส และอายุงานของพนักงานฝ่ายผลิต มีผลต่อความผาสุกไม่แตกต่างกัน การเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค (ด้านบังคับควบคุม ด้านความสามารถบรรลุสิ่งที่คาดหมาย และด้านความมานะ อดทน) และการเห็นคุณค่าในตนเอง (ด้านความสำคัญ) สามารถร่วมพยากรณ์ความผาสุกได้ร้อยละ 54.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Influence of Adversity Quotient and Self-esteem towards Production Worker’s Well-being in a Packaging Company
The objectives of this research were three folds. First, it studied the level of adversity quotient, self-esteem and well-being. Second, it compared the production worker’s well-being in accordance to their sex, ages, education level, marital status, and tenure. And third, it examined the influence of adversity quotient and self-esteem on well-being. Samples were 165 production workers at a packaging company. Data were collected by questionnaires and analyzed with the application program. Statistics used were the percentages, the arithmetic mean, the standard deviation, the t-test, the analysis of variance, and the stepwise multiple regression analysis.
Research results indicated that the adversity quotient, self-esteem and well-being of production worker were at high level. Secondly, there was significant difference in well-being at only different ages at the level of 0.05. Thirdly, differences in sex, level of education, marital status, and tenure caused no difference in adversity quotient, self-esteem and well-being of production worker. And fourthly, adversity quotient (control, reach, and endurance) and self-esteem (significance) could jointly predict 54.2 percent of the well-being at the statistical significance level of 0.05.