ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่ง

Main Article Content

นิรัตน์ สุขพรรณเจริญ
ปนัดดา ชำนาญสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับหัวหน้างานที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะลาออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพนักงานบริษัทยานยนต์หนึ่งแห่ง เฉพาะสาขาในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 127 คน ใช้วิธีการชักอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และศึกษาอำนาจการพยากรณ์โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน

พนักงานส่วนใหญ่มีความตั้งใจที่จะลาออกในระดับปานกลาง ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับหัวหน้างาน มีความสอดคล้องกันทางลบในระดับน้อย หมายถึง พนักงานบริษัทรับรู้ว่าคุณลักษณะขององค์การ งาน และ หัวหน้างานซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมในการทำงานในปัจจุบันไม่เป็นไปทิศทางเดียวกันกับความคาดหวังโดยพนักงานมีความคาดหวังสูงกว่าสภาพความเป็นจริงเล็กน้อย

นอกจากนี้ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ด้านการมุ่งเน้นเรื่องผลการปฏิบัติงาน และด้านความมั่นคงในงานเป็นด้านที่มีความสอดคล้องด้านลบในระดับปานกลาง หมายถึง พนักงานบริษัทรับรู้ว่าคุณลักษณะขององค์การในด้านการมุ่งเน้นเรื่องผลการปฏิบัติงานและด้านความมั่นคงในงานปัจจุบันไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความคาดหวัง กล่าวคือ พนักงานมีความคาดหวังสูงกว่าสภาพความเป็นจริงปานกลาง

ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความตั้งใจที่จะลาออก หมายความว่าพนักงานที่รับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับหัวหน้างานในระดับสูงมีความตั้งใจที่จะลาออกต่ำ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ และ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานได้ร้อยละ 13.8

 

Person-Environment Fit influencing Employee’s Turnover Intention of an Automotive Company

The aim of this study was to investigate the person-environment fit influencing employee's turnover intention of an automotive company in the Bangkok office. The factors of person-organization fit, person-job fit, person-supervisor fit, and turnover intention were studied. The sample consisted of 127 employees selected by simple random sampling. Questionnaire was the instrument for data collection. Descriptive statistical methods for data analysis were the percentages, the arithmetic mean, the standard deviation. Hypotheses were tested with the Person product-moment correlation coefficient and the stepwise regression analysis.

The turnover intention of employees was found to be moderate. The degree of person-organization fit, person-job fit, and person-supervisor fit were all negative fit at the moderate level. That is, the employee’s perception about the actuality oforganization, job, and supervisor were not the same direction with the employee’s expectation, the employee’s expectation was higher than actuality as low level.

Person-Organization Fit in the factor of Performance Orientation and Stability were negative fit as moderate level which are defined that the employee’s perception about the actuality of organization were not in the same direction as the employee’s expectation, the employee’s expectation was higher than actuality at the moderate level.

Person-organization fit, person-job fit, and person-supervisor fit were negatively correlated with turnover intention indicating that the employee who perceived highly the degree of person-organization fit, person-job fit, and person-supervisor fit, had low turnover intention. Finally, person-organization fit, and person-job fit could jointly predict 13.8 percent of the turnover intention.

Article Details

บท
บทความวิจัย