รัฐบาลนายชวนหลีกภัยสมัยที่ 2 กับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ :กรณีศึกษาการกำหนดนโยบายและกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล นายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 (ระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) โดยเน้นเฉพาะเรื่องการกำหนดนโยบายและกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องการ “การแก้ไขเยียวยา” อย่างเร่งด่วน ผลการศึกษาพบว่า “รัฐบาลชวน 2” ยังคงแสดงความสนใจในการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดความสงบสุข ดังที่ได้เคยดำเนินการมาแล้วในช่วง “รัฐบาลชวน 1” โดยได้ “หยิบยก” เรื่องการปกครอง จังหวัดชายแดนภาคใต้มาพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หลังจากได้เข้ามาบริหารบ้านเมืองเพียง 3 สัปดาห์ ปัญหาสำคัญในพื้นที่ขณะนั้นก็คือการก่อเหตุความไม่สงบในหลายรูปแบบซึ่งเกิดมากขึ้นหลังสมัย “รัฐบาลชวน 1” แม้รัฐบาลต้องประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่สืบเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2540 ก่อนการเข้ามาเป็นรัฐบาลแต่ “รัฐบาลชวน 2” ก็ใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อยในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างจริงจังภายใต้นโยบายหลักคือ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2537-2541) และนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2542-2546) ตามลำดับ โดยมีแผนเสริมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่ามียุทธศาสตร์ “ความสงบเรียบร้อยนำ การบริหารจัดการองค์กรและการพัฒนาเศรษฐกิจตาม ประชาสัมพันธ์สนับสนุน” และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการคือ “การเมืองนำการทหาร” โดยเฉพาะการให้โอกาสผู้ก่อความไม่สงบให้เข้ามอบตัว เพื่อมาช่วยในการพัฒนาประเทศชาติในโครงการ “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ต่อไป ขณะที่ผู้ที่ถูกจับได้ก็ต้องถูกสอบสวนดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมซึ่งตัวนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเองมีความเชื่อมั่น
Mr. Chuan Leekpai’s Government in His Second Term in Office and the Solution to the Problem of the Southernmost Provinces: A Case Study of the Policy Formulation and the Decision-making Process of the Cabinet
The objective of this article was to study the solution to the problem of the southernmost provinces adopted by Mr. Chuan Leekpai's government in his second term in office (between 9 November 1997and 17 February 2001). Its focus was only on the policy formulation and the decision-making process of the cabinet regarding the implementation of its policy to solve the problem of the southernmost provinces, which was of “chronic nature” and needed the rapid “remedy”. The research results demonstrated that Mr.Chuan Leekpai's government in his second term in office was still interested in solving this administrative problem as it was in his first term of office in order to promote peace in this sensitive area. The government then brought this issue to be considered in the cabinet after only three weeks of being in the post. A large number of various forms of violence that occurred frequently in this area after his first term of office was the main and sensitive problem. Even though the government had faced with the economic crisis from the midst of 1997,before being in his term of office, the government allocated a lot of budget to solve the problem seriously under the principle policy : national security policy on the southernmost (1994-1998) and national security policy on the southernmost (1999-2003) respectively, with the collaboration of various offices. The strategic supportive policy might be “peace-led, organization management and economics development-followed, public relations-supported”. The strategic implementation was “politics led military”, especially the chance opened to the surrender of agitators. The suspects were to be investigated under the process of judgement along with the principal of Mr.Chuan Leekpai. The result of the implementation of such a policy led to the reduction of the insurgency in the area.