การประกอบสร้างตัวตนเกย์ในภาพยนตร์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์เกย์ในภาพยนตร์และกลวิธีในการประกอบสร้างความเป็นจริงให้สมจริง ผู้วิจัยวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์เกย์ 8 เรื่องที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ระหว่าง พ.ศ. 2547–2552 ภายใต้กรอบทฤษฎีการประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมตัวละครเกย์ถูกสร้างให้มีลักษณะที่หลากหลายทั้งสอดคล้องและแตกต่างจากความเป็นจริงทางสังคม โดยอิทธิพลของความเป็นจริงทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปมีส่วนสำคัญในการกำหนดการประกอบสร้างนั้น นอกจากนี้ภาพยนตร์ในฐานะสถาบันทางสังคมก็มีแนวโน้มที่จะผลิตและผลิตซ้ำอัตลักษณ์เกย์ให้สอดรับกับบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม สำหรับการประกอบสร้างความเป็นจริงให้สมจริง ภาพยนตร์ที่ศึกษาใช้กลวิธีดังนี้ 1) การผสมกันระหว่างความจริงกับจินตนาการ 2) การทำให้ดูเป็นเรื่องปกติ 3) การให้คุณให้โทษ 4) การสร้างข้อยกเว้นและ 5) การใช้เสียงประกอบ
Construction of Gay Identities in Thai Films
The objective of this qualitative research was to examine the process of constructing gay identities in Thai films–how it was constructed and which tactics were employed. Textual analysis was used to analyze eight Thai gay films which showed in movie theaters from 2004 to 2009. Social construction of reality was employed as a framework. The findings indicated that overall gay identities varied both similar and different from gay in social reality. Social reality change was crucial to the construction of gay identities in Thai films. Films as social institution tended to produce and reproduce gay identities which conformed to the norms and social expectations. Tactics to construct reality as real were: a combination of reality and imagination, normalization, rewarding and punishment, exception, and sound images.