ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม และความผาสุกในชีวิต ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

นนทรีย์ วงษ์วิจารณ์
สุปาณี สนธิรัตน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเองทักษะทางสังคม และความผาสุกในชีวิตของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ศึกษาเปรียบเทียบความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุ ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม กับความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 296 คน ใช้วิธีการชักตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีการดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม และความผาสุกในชีวิตอยู่ในระดับสูง แต่มีทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุที่มีอาชีพ ภาวะสุขภาพ และลักษณะการอยู่อาศัยแตกต่างกัน มีความผาสุกในชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 .001 และ .05 ตามลำดับ นอกจากนี้ ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง และทักษะทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001

 

Attitude toward Aging, Self-care, Social Skills and Well-being of the Elderly in Amphoe Kabin Buri’s the Elderly Club, Prachin Buri Province

The objectives of this research were as follows. First, it aimed to study the level of attitude toward aging, self-care, social skills and well-being of the elderly in Amphoe Kabin Buri’s elderly club, Prachin Buri province; secondly, to compare the well-being of the elderly by their personal factors; and thirdly, to study the correlation among attitude toward aging, self-care, social skills, and well-being of these elderly. Samples used in this research consisted of 296 elderly, selected by simple random sampling. The data were collected by using questionnaires and analyzed by a statistical program. The statistical procedures used for analysis were the percentages, the arithmetic mean, the standard deviation, t-test, one-way analysis of variance. Paired differences were analyzed with the Least Significant Difference (LSD) and the Pearson’s product moment correlation coefficient. The statistical significance was set at the .05 level of confidence. The results of this research indicated that the attitude toward aging , self-care, social skills and well-being of the elderly were at high level while the attitude toward aging of the elderly was moderate. Second, the elderly who had different occupation, health status, and habitation had significantly different well-being at the .01, .001, and .05, respectively. Thirdly, the attitude toward aging, self-care, and social skills had statistically significant positive correlation to well-being at the .001 level

Article Details

บท
บทความวิจัย