สัมพันธภาพทางสังคม พรหมวิหาร 4 การรับรู้คุณลักษณะของงาน และความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชน จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

เหมือนฝัน นาครทรรพ
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสัมพันธภาพทางสังคม ระดับพรหมวิหาร 4 ระดับการรับรู้คุณลักษณะของงาน และระดับความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชนตามปัจจัยส่วนบุคคล เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพทางสังคมกับความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพรหมวิหาร 4 กับความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชน และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะของงานกับความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาสาพัฒนาชุมชนที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 574 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,188 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า สัมพันธภาพทางสังคม พรหมวิหาร 4 การรับรู้คุณลักษณะของงาน และความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชนอยู่ในระดับสูง อาสาพัฒนาชุมชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน พื้นที่ปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการเป็นอาสาพัฒนาชุมชน และสถานภาพการเป็นสมาชิกของชมรมในชุมชนแตกต่างกันมีความสุขในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สัมพันธภาพทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พรหมวิหาร 4 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ การรับรู้ลักษณะของงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Social Relationship, Four Brahmaviharas, Perception of Job Characteristics and Happiness in Work of Community Development Volunteers in Nonthaburi Province

The objectives of this research were first, to study the level of social relationship, four brahmaviharas, perception of job characteristics and happiness in work of community development volunteers. Second, to compare the happiness of community development volunteers by personal factors. Third, to study the relationship between social relationship and happiness of community development volunteers. Fourth, to study the relationship between four brahmaviharas and happiness in work of community development volunteers. And fifth, to study the relationship between perception of job characteristics and happiness in work of community development volunteers. The samples in this research were 574 from the total population 1,188 community development volunteers in Nonthaburi Province area. The data were collected by questionnaires and analyzed by a statistical package program. The statistical methods used for analysis were the percentages, the arithmetic mean, the standard deviation, the t-test, the analysis of variance, and the Pearson’s product moment correlation coefficient. The result of this research indicated that first, social relationship, four brahmaviharas, perception of job characteristics and happiness in work of community development volunteers were at the high level. Second, the community development volunteers with different personal factors such as ages, marital status, level of education, occupation, monthly income, area of operation, period of community development volunteers, and membership in community group, had different happiness in work at the 0.01 level of statistical significance. Third, social relationship was positively related to happiness in work of community development volunteers at the 0.01 statistical significance level. Fourth, four brahmaviharas were positively related to happiness in work of community development volunteers at the 0.01 statistical significance level. And finally, perception of job characteristics was positively related to happiness in work of community development volunteers at the 0.01 level of statistical significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย