การปรับตัวทางวัฒนธรรมของชุมชนหลังการสร้างฝายลำโดมใหญ่

Main Article Content

กมล หอมกลิ่น
โสวัตรี ณ ถลาง
วิพักตร์ จินตนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามิติวัฒนธรรม และกระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของชุมชนต่อการจัดการทรัพยากรน้ำลำโดมใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า จากการก่อสร้างฝายลำโดมใหญ่ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศในพื้นที่ เช่น จำนวนพันธุ์ปลาน้อยลง การยกเลิกการเกษตรริมน้ำทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับลำน้ำเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามด้วยศักยภาพทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน จึงทำให้ชุมชนพยายามหารูปแบบในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งค้นพบว่ามี 3 รูปแบบ ได้แก่ การปรับตัวต่อรูปแบบการหาปลาในลำโดมใหญ่ การปรับตัวต่อรูปแบบการทำเกษตรริมน้ำ และการปรับตัวต่อรูปแบบทำอาชีพเสริม

 

The Community’s Cultural Adaptation after building Lam Dom Yai Dam

The purposes of the research were to study the cultural dimension and to examine the process of community adaptation towards water resource management. The study found that the construction of the Lam Dom Yai Dam caused many problems in the community ecosystem. For example, the decreased in the numbers of fishes, cancellation of cultivation on the river bank led to the changes in the relationship between the community and the river at the same time. However, the potential of social capital existing in the communities enabled the people in the community’s effort to seek out the form of adaptation to the changes. The study found three methods of adaptation: first, the adaptation to the fishing method on Lam Dom Yai; second, the adaptation to cultivating on the river bank; and third, adaptation to the method of additional occupations.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย