ข้าราชการระดับสูงกับการเมืองในการปฏิรูประบบราชการในประเทศไทย

Main Article Content

อรุณี สัณฐิติวณิชย์
พิทยา บวรวัฒนา

บทคัดย่อ

การปฏิรูประบบราชการเป็นเรื่องการเมืองที่มีผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด คือ ข้าราชการระดับสูงที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ เนื่องจากข้าราชการระดับสูงสามารถมีอิทธิพลเหนือนโยบายได้ การศึกษาครั้งนี้ต้องการตอบคำถามว่าข้าราชการระดับสูงสามารถมีอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองด้วยปัจจัยฐานอำนาจใด และวิธีการอย่างไร กรณีศึกษาที่ใช้ครั้งนี้คือ การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการในช่วง พ.ศ. 2545–2553 ซึ่งเป็นตัวอย่างของความพยายามในการขยายตัวของระบบราชการไทย วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การเล่าเรื่อง และการวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า วิธีการใช้อำนาจสำคัญของข้าราชการระดับสูงในการมีอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการ คือ การอยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปอย่างเป็นทางการ และการสร้างพันธมิตร และความร่วมมือ ซึ่งผู้ที่จะสามารถใช้วิธีการดังกล่าวได้จำเป็นต้องมีปัจจัยฐานอำนาจสำคัญคือ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือต้นทุนส่วนบุคคล นอกจากนี้ ข้าราชการระดับสูงที่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของอำนาจและตำแหน่งซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงโครงสร้างในกรณีศึกษานั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีต้นทุนส่วนบุคคลที่สามารถอยู่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบการปฏิรูปอย่างเป็นทางการได้เท่านั้น

 

HIGH PUBLIC OFFICIALS AND THE POLITICS OF ADMINISTRATIVE REFORM IN THAILAND

Administrative reform is politics. In any administrative reform, there are stakeholders--those who win and lose. High public officials who are directly involved in the administrative reform process are likely to benefit the most. The objective of this study is to explain the power bases and strategies used by self-interested high public officials to influence the administrative reform process so that they can make gains from such reform. The study investigates the structural reform of agencies in charge of administrative reform in Thailand during 2545-2553 B.E. The research methods used are in-depth interviews, story-telling, and documentary research. It is found from the study that the key strategies used by high public officials to exert power over the directions of administrative reform are: assuming an official position in charge of administrative reform, and building coalition and cooperation networks with key actors. These two strategies can be used effectively when the high public officials have authoritative power or special personal characteristics and attributes. Only high public officials who have special personal characteristics and/or attributes and hold key positions in charge of administrative reform can personally benefit from the reform the most.

Article Details

บท
บทความวิจัย