รัฐบาลนายชวนหลีกภัยสมัยที่ 1 กับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาการกำหนดนโยบายและกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี

Main Article Content

ปิยนาถ บุนนาค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล นายชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 (ระหว่างวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) โดยเน้นเฉพาะเรื่องการกำหนดนโยบายและกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในการดำเนินนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องการ “การแก้ไขเยียวยา” อย่างเร่งด่วน ผลการศึกษาพบว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัยสมัยที่ 1 ยังคงยึดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2531-2535) เป็นหลักในการดำเนินโยบายแก้ไขปัญหาการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลาของนโยบายดังกล่าว รัฐบาลนายชวนก็ได้ขยายเวลาการใช้นโยบายนี้ต่อไปเป็นนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2537-2541) โดยมียุทธศาสตร์ 3 แผนที่เสริมซึ่งกันและกัน ได้แก่ เศรษฐกิจนำ ประชาสัมพันธ์ตาม และความสงบเรียบร้อยสนับสนุน ทั้งนี้กระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การกำหนดเป็นโยบายสาธารณะนั้นเป็นรูปแบบ “ตัวแบบเหตุผล” ซึ่งมุ่งให้สังคมได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด ปรากฏว่ารัฐบาลชุดนี้ให้ความสนใจต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จำเป็นโดยเฉพาะเครือข่ายทางหลวงที่ทันสมัยเพื่อเอื้อต่อความสะดวกรวดเร็วในการคมนาคมและขนส่งสินค้าและบริการของรัฐและประชาชนอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และยุทธศาสตร์ และนำไปสู่การสร้างเอกภาพและความมั่นคงในการบริหารบ้านเมืองต่อไป ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงในพื้นที่

 

Mr. Chuan Leekpai’s Government in His First Term in Office and the Solution to the Problem of the Southernmost Provinces: A Case Study of the Policy Formulation and the Decision-making Process of the Cabinet

The objective of this article was to study the solution to the problem of the southernmost provinces adopted by Mr. Chuan Leekpai’s government in his first term in office (between 23 September 1992 and 13 July 1995). Its focus was only on the policy formulation and the decision-making process of the cabinet regarding the implementation of its policy to solve the problem of the southernmost provinces, which was of “chronic nature” and needed the rapid “remedy”. The research results demonstrated that Mr. Chuan Leekpai’s government in his first term in office adopted national security policy on the southernmost provinces (1988-1992) as the milestone for the implementation of its policy to remedy the administrative problem of the southernmost provinces. When the policy was at the time of its discontinuation, Mr.Chuan Leekpai’s government extended the time period of the policy’s implementation known as national security policy on the southernmost provinces (1994-1998). The policy consisted of 3 mutually supportive plans, namely “economics-led, public relations-followed, and support by harmony”. The decision-making process of the government which led to the formulation of such a public policy was of “rational model” aiming for the greatest benefit for the society.

The article also demonstrated that this government paid attention to building up of necessary economic infrastructure especially modern road network. The road network provided a more convenient and higher speed means of communication and transportation of goods for both public and private sectors. This, in turn, was of great benefit to the country in terms of economic, social and strategic aspects, and led to the strengthening of integrity and security in the country administration for the years to come. The result of the implementation of such a policy led to the reduction of the insurgency in the area.

Article Details

บท
บทความพิเศษ