มิติทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

โสวัตรี ณ ถลาง
กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้
สุดารัตน์ รอดบุญส่ง

บทคัดย่อ

การศึกษามิติทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนาการของวัฒนธรรมดั้งเดิม และรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่มีการปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย กลุ่มผู้อาวุโสของชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว โดยใช้เวลาศึกษา 12 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า ชองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมในบริเวณพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่รวมกลุ่มกันอยู่บริเวณทิวเขาสอยดาวและเขาคิชฌกูฎ โดยเฉพาะในเขตตำบลตะเคียนทอง คลองพลู และพลวง ในอดีต ชองเลี้ยงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ เก็บของป่า และล่าสัตว์ จนได้ชื่อว่าเป็นนายพรานที่ชำนาญ ปัจจุบันชาวชองส่วนใหญ่เปลี่ยนมาประกอบอาชีพทำสวนผลไม้และรับจ้างทั่วไป อย่างไรก็ตามแม้จะมีการปรับตัวให้เข้ากับบริบทใหม่ แต่ก็ได้มีความพยายามในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม ซึ่งพบว่าการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในมิติทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยการปรับตัวด้านภูมิปัญญา ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ เนื่องจากสภาวะแวดล้อมทางสังคมไม่เอื้ออำนวย ทำให้ชองต้องเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาผสมผสานและปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเอง แม้ในบางครั้งยอมสูญเสียความเป็นตนเอง เพื่อลดความขัดแย้งและความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์

จากผลการศึกษาข้างต้นจึงมีข้อเสนอแนะว่า การสนับสนุนและส่งเสริมวัฒนธรรมชองควรเป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ชองผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐทุกระดับและจากคนภายนอกชุมชนซึ่งจะทำให้สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไปสู่คนรุ่นหลัง และสร้างภาคภูมิใจในความเป็นชองที่นับวันจะมีเหลือน้อยลงและมีแนวโน้มจะสูญหายโดยการถูกกลืนกลายหากขาดการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนจากท้องถิ่นอย่างจริงจัง

 

Cultural Dimension and Adaptation of the Ethnic Chong in Changwat Chantaburi

The study of cultural dimension and adaptation of the Ethnic Chong in Changwat Chantaburi aimed to examine cultural types and development of the ethnic community as well as cultural types changes which adapted to current situation. This 12-month qualitative research involved observations, in-depth interviews, and focus group discussion. The key informants consisted of community elders, village philosophers, community leaders, and the villagers who actively participated in the conservation of cultural identity of the ethnic Chong.

It was found that the Chong has been the original indigenous people of Changwat Chantaburi. Most of them have settled down around Khao Soi Dao and Khao Kitchagut, especially in Takian Thong, Khlong Plu, and Pluang sub-districts. In

the old days, most of the ethnic Chong spent their lives cultivating paddy fields, hunting, and gathering. At present, most of them have changed to fruit gardening and being employed in various jobs. However, even though they had adapted to the changing context and new environment, it was also found that there had been efforts of the ethnic Chong in cultural restoration and preservation. The cultural adaptation of the ethnic Chong included their local wisdom, tradition, ritual, and belief system. Such adaptation was due to limited social space leading to the opening of their cultural space by acculturation and assimilation of external cultures to reduce conflicts and ethnic differences.

Recommendation for the research results was that the cultural support and promotion for the Chong should be carried out in accordance with their needs, especially those from all levels of government and the private sector. Such enhancement would enable the ethnic Chong to subsequently transfer their culture to the younger generation so that they could be proud of their ethnic identity which has been reduced and might even disappear through assimilation and the lack of active local participation and support.

Article Details

บท
บทความวิจัย