การขยายตัวทางการค้าผ่านแดนระหว่างไทย-จีนตอนใต้ และการพัฒนาการขนส่งในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเดินเรือพาณิชย์ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนระหว่างไทย-จีน ภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน” ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลประโยชน์ ตลอดจนประเมินขีดความสามารถในการค้าระหว่างไทยกับจีนที่เกิดขึ้นจากการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
วิธีการวิจัยประกอบด้วย การเดินทางสำรวจเส้นทางการขนส่งสินค้าทางลำน้ำโขงเข้าสู่หยุนหนานและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือพาณิชย์ในประเทศไทย และประเทศจีน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎระเบียบและใช้ระเบียบทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการขนส่งผ่านลำน้ำโขงแบบองค์รวม ซึ่งจะสนองต่อการค้าชายแดนในอนาคต
ผลการวิจัยพบว่ากรอบความร่วมมือเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน รวมทั้งนโยบายการค้าและการขนส่งของจีนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์การขนส่งทางน้ำที่สำคัญในการเป็นประตูการค้าของจีนตอนใต้ การขนส่งทางแม่น้ำโขงตอนบนยังคงมีบทบาทสำคัญเนื่องจากเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการประหยัดต้นทุน ทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย จีนจึงให้ความสนใจและทุ่มงบประมาณในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนเพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้าอาเซียน-จีน ทั้งนี้จีนมีความหวังจะเป็นผู้นำเส้นทางการเดินเรือพาณิชย์ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่สำคัญทางภาคใต้ของประเทศ โดยให้มณฑลหยุนหนานเป็นประตูในการเข้าสู่อาเซียน ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาให้จังหวัดเชียงรายของไทย เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงระหว่างจีนกับอาเซียน
Expansion of Transit Trade between Thailand and Southern China and the Upper Mekong River Basin Transportation Development under ASEAN Free Trade Area
This article is an extract from a research entitled “Commercial Navigation in the upper Mekong between Thailand and China under ASEAN Free Trade Area” funded by Thammasat University in 2010. It analyzed and evaluated the benefits and assessed the capabilities of trade between Thailand and China arising from preparations for the ASEAN Free Trade Area.
Research methodology consisted of exploration of commercial route through the Mekong into Yunnan and in-depth interviews with commercial navigation entrepreneurs in Thailand and China as well as those involved in the regulations and implementation of commercial navigation both in the public and the private sectors. The data were analyzed to propose the Mekong holistic transportation system guidelines for future border trade.
The results show that the framework of the Free Trade Area with ASEAN–China including Chinese policies on trade and transportation will contribute to making the Mekong River into a strategic waterway for transport and a commercial gateway from southern China. Transport on the upper Mekong River plays an important role. It is the best choice that could save time and money. China has invested heavily in the development of the Upper Mekong in order to support the liberalization of the ASEAN–China trade. China hopes to become a leader in commercial navigation on the upper Mekong in the south of the country by posing Yunnan Province as the gateway into the region. This is an important factor in the development of Thailand’s Chiang Rai Province as a central link between China and ASEAN.