อิทธิพลของการมีส่วนร่วมกิจกรรมนิสิต การสนับสนุนทางสังคม ความเชื่อ อำนาจควบคุมตนเอง และลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่มีต่อพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

วรรณกร พลพิชัย
งามลมัย ผิวเหลือง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมกิจกรรมนิสิตการสนับสนุนทางสังคม ความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง ลักษณะความเป็นพลเมืองดี และพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมทางการเมืองของนิสิต 2) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมกิจกรรมนิสิตการสนับสนุนทางสังคม ความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง ลักษณะความเป็นพลเมืองดีร่วมกันมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมทางการเมืองของนิสิต เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาตรี จำนวน 1,066 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการศึกษามีดังนี้ 1) นิสิตมีระดับการมีส่วนร่วมกิจกรรมนิสิตการสนับสนุนทางสังคม ความเชื่ออำนาจภายในตนเอง ลักษณะความเป็นพลเมืองดี และพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมทางการเมืองอยู่ในระดับสูง ส่วนความเชื่ออำนาจภายนอกตนเองอยู่ในระดับต่ำ 2) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมทางการเมืองพบว่า ลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านลักษณะอนุรักษ์นิยมหรือลักษณะความเชื่อฟังและด้านลักษณะการมีความรู้ การสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมิน ด้านอารมณ์และด้านข้อมูลข่าวสาร ภูมิลำเนาเดิม ความเชื่ออำนาจภายในตนเอง และการมีส่วนร่วมกิจกรรมนิสิตด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสามารถอธิบายได้ร้อยละ 51.3 (R2 = .513)

 

Influence of Students’ Activity Participation, Social Support, Locus of Control, and Good Citizenship Characteristics on Political Assertive Behavior of Kasetsart University Students

The objectives of this study were as follows. Firstly, it aimed to study the personal factors, students' activity participation, social support, locus of control, good citizenship characteristics, and political assertive behaviors of the students. Secondly, it analyzed the influence of students' activity participation, social support, locus of control, and good citizenship characteristics on political assertive behavior of the students. The data were collected from 1,066 undergraduate students at Kasetsart University. Research instrument was the questionnaire. The data were analyzed by using statistical methods, including the percentages, the mean, the standard deviation, and the stepwise multiple regression analysis.

The results had the following conclusion. Firstly, the students' activity participation, social support, internal locus of control, good citizenship characteristics, and political assertive behavior were at the high level, while external locus of control was at the low level. Secondly, results from stepwise multiple regression analysis indicated that the independent variables that could predict the political assertive behavior included good citizenship characteristic in conservative or subject/obedient role dimension, good citizenship in knowledge dimension, social support in appraisal dimension, social support in emotion dimension, social support in information dimension, original domicile, internal locus of control, and students' activity participation in benefit dimension had influences on political assertive behaviors at the statistical significance level of 0.001, and could predict it at 51.3 percents (R2= 0.513).

Article Details

บท
บทความวิจัย