ความแกร่งของจิตใจ การมองโลกในแง่ดี และการปรับตัวต่ออุทกภัย ของประชาชนในตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

พรรณี เขาแก้ว
บัวทอง สว่างโสภากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความแกร่งของจิตใจ ระดับการมองโลกในแง่ดีและระดับการปรับตัวต่ออุทกภัยของประชาชน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวต่ออุทกภัยของประชาชนตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแกร่งของจิตใจกับการปรับตัวต่ออุทกภัยของประชาชน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดีกับการปรับตัวต่ออุทกภัยของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 292 หลังคาเรือน ชักตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีความแตกต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความแกร่งของจิตใจและการปรับตัวต่ออุทกภัยด้านการเตรียมความพร้อมต่อการเกิดภัยอันตราย ด้านการสู้กับเหตุที่ทำให้เกิดภัยอันตราย และด้านการหลีกเลี่ยงจากภัยอันตรายอยู่ในระดับสูง ส่วนการมองโลกในแง่ดีและการปรับตัวต่ออุทกภัยด้านการรู้สึกหมดหวังจากการเกิดภัยอันตรายอยู่ในระดับปานกลาง 2) ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล เช่น มีจำนวนครั้งที่ประสบอุทกภัยแตกต่างกัน มีการปรับตัวต่ออุทกภัยในด้านการรู้สึกหมดหวังจากการเกิดภัยอันตรายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความแกร่งของจิตใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวต่ออุทกภัยใน 3 ด้านแรก แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวต่ออุทกภัยในด้านสุดท้าย และ 4) การมองโลกในแง่ดีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวต่ออุทกภัยใน 3 ด้านแรกและมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวต่ออุทกภัยในด้านสุดท้าย

 

Resilience, Optimism and Adjustment to Floods of People in Tambon Phrom Buri, Amphoe Phrom Buri, Changwat Sing Buri

The objectives of this research were, firstly, to study the level of resilience, optimism and adjustment to floods of people. Secondly, it aimed to compare the adjustment to floods of people classified by personal factors. Thirdly, it studied the relationship between resilience and adjustment to floods of people. And finally, it investigated the relationship between optimism and adjustment to floods of people. The samples of this research were 292 people, selected by stratified random sampling. The data were collected by using questionnaires and analyzed by using a computer program package. Statistics used for data analysis were the frequency, the percentages, the mean, the standard deviation, the t-test, the one way analysis of variance, the least significant difference method, and the Pearson’s product moment correlation coefficient.

The result of this research indicated that the resilience and adjustment to flood in the form of preparing against, attacking on, and avoidance of harm of the people were at high levels whereas the optimism and adjustment to floods in the form of apathy toward harm were at moderate level. Secondly, people with differences in some aspects of personal factors had difference in adjustment to floods at the 0.05 level of statistical significance. Thirdly, the resilience of the people was positively related to the first three forms of their adjustment to floods, while the last form of adjustment to floods did not. Finally, the optimism of the people was positively related to the first three forms of their adjustment to floods and was negatively related to the last form of adjustment to floods.

Article Details

บท
บทความวิจัย