การมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งในการบริหารพื้นที่วิหารพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

รัตนาพร ศิริวงษ์
อรนันท์ กลันทปุระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ค้าในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณวิหารพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณวิหารพระมงคลบพิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายสินค้าบริเวณรอบวิหารพระมงคลบพิตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 187 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคลและแบบสอบถามวัดระดับการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทดสอบความต่างรายคู่ โดยใช้วิธีความแตกต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่บริเวณวิหารพระมงคลบพิตรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมจัดการความขัดแย้งของพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและภูมิลำเนาที่แตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานทั้งไว้

 

Participation in Conflict Management at Bophit Sacred Temple, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province

This research aimed to study the level of participation of 187 merchants in the area of the Bophit Sacred Temple to compare the level of participation by personal factors. The studied samples were 187 merchants who traded around the Bophit Sacred Temple. Questionnaires were used as the tool for data collection. The data were analyzed by using a computer software. Statistics employed included the percentages, the mean, the t-test, the analysis of variance, and the least significance difference method. Statistical significance level was set at 0.05.

Research results indicated that the level of participation in conflict management at the Bophit Sacred Temple was at low level. But the samples with different personal factors, such as gender and domicile, had different level of participation in conflict management at the 0.05 level of significance as hypothesized.

Article Details

บท
บทความวิจัย