การนำพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) และตัวแบบ KSM เพื่อสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชน

Main Article Content

บุษกร วัฒนบุตร
บุญทัน ดอกไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการนำพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) ในการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชน การบูรณาการระหว่างพุทธญาณวิทยาและตัวแบบ KSM ในการ สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชน และศึกษาสัมฤทธิผลของการประเมินการนำตัวแบบที่ได้จาก การบูรณาการระหว่างพุทธญาณวิทยาและตัวแบบ KSM ไปใช้เพื่อสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร มหาชน ผลการศึกษาพบว่า การบูรณาการระหว่างพุทธญาณวิทยาและตัวแบบ KSM ในการสร้างและ พัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชนโดยมีลักษณะของความมุ่งมั่น การทำงานหนัก การมองอนาคตเด่นชัด ความรับผิดชอบ การประสานงาน การมีจิตนวัตกรรม ความชำนาญ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความมี ระเบียบวินัย และการจัดการที่ดี ทันกาล มีกำไร อย่างเคร่งครัดจะมีแนวโน้มส่งผลให้การพัฒนาทุนมนุษย์ ในองค์กรที่ศึกษาดีขึ้น การสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) และตัวแบบ KSM เป็นวิธีการพัฒนาคนตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ซึ่งมี 2 วิธีคือ วิธีการไตรสิกขา และวิธีการ ภาวนา ที่จะก่อให้เกิดการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ของแต่ละองค์กร เพื่อที่จะผลักดันให้องค์กรเกิดการ พัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรม จนก่อให้เกิดลักษณะของบุคลากรที่เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

 

The Implementation of Buddhism Epistemology and KSM approach for Human Capital Build and Development in Public Corporation

This mixed research aimed to study the implementation of Buddhism epistemology for human capital build and development in public corporation, the integration of Buddhism epistemology and KSM approach for human capital development in public corporation for the creation of human capital development and the effectiveness of applied integration of Buddhism epistemology and KSM approach for human capital development in public corporation. The study results showed that Buddhism epistemology for human capital development in public corporation involved the dimensions of determination, hardworking, future vision, responsibility, coordination, creative mind, skill, honesty, sacrifice, disciplined, and good administration that was just in time and profitable, could lead to better human capital development in the organization which was the case study. There are two ways for success in human capital development, namely, Sikkhattaya (the Threefold Learning) and Bhavana (meditation) in order to develop and build the character of the personnel to be an excellent, good, and happy person.

Article Details

บท
บทความวิจัย