การทำหน้าที่ของครอบครัว บุคลิกภาพ การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการช่วยเหลือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ณัฐดาว คชพลายุกต์
ทิพย์วัลย์ สุรินยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการทำหน้าที่ของครอบครัว บุคลิกภาพ การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการช่วยเหลือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการช่วยเหลือตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการทำหน้าที่ของครอบครัวกับพฤติกรรมการช่วยเหลือ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับพฤติกรรมการช่วยเหลือ และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับพฤติกรรมการช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 307 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีความแตกต่างนัยสำคัญน้อยสุด และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การทำหน้าที่ของครอบครัว ได้แก่ การแก้ปัญหาการสื่อสาร บทบาท การตอบสนองทางอารมณ์ ความผูกพันทางอารมณ์ และการควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง 2) บุคลิกภาพด้านความเปิดกว้าง การยอมรับผู้อื่น และการแสดงออกอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการมีสติและความหวั่นไหวอยู่ในระดับปานกลาง 3) การเห็นคุณค่าในตนเอง ได้แก่ ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญ ความรู้สึกว่าตนมีอำนาจ ความรู้สึกว่าตนมีความสามารถ และความรู้สึกว่าตนมีคุณความดีอยู่ในระดับสูง 4) พฤติกรรมการช่วยเหลือ ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา ทางสติปัญญา และทางใจอยู่ในระดับสูง 5) นักเรียนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ผลการเรียนลำดับการเกิด รายได้ของครอบครัว อาชีพของบิดาและอาชีพของมารดามีผลต่อพฤติกรรมการช่วยเหลือไม่แตกต่างกัน 6) การทำหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 7) บุคลิกภาพด้านการแสดงออก ความเปิดกว้าง การยอมรับผู้อื่น และการมีสติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 8) การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

 

Family Function, Personality, Self-Esteem and Helping Behavior of High School Students in Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province

The objectives of this research were to study the followings: 1) levels of family function, personality, self-esteem, and helping behavior of high school students in Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province; 2) comparison of helping behavior according to different personal factors; 3) relationship between family function and helping behavior; 4) relationship between personality and helping behavior; and 5) relationship between self-esteem and helping behavior. The sample consisted of 307 students from high school in Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province selected by stratified random sampling. The data were analyzed by a computer package statistical program. Statistical methods were the percentages, the mean, the standard deviation, the t-test, the analysis of variance, the least significant difference method, and the Pearson’s product moment correlation coefficient.

The results of this research were as follows. First, family function, such as problem solving, communication, role, affective responsiveness, affective involvement, and behavior control, were at the high level. Second, the openness to experience dimension, the agreeableness dimension, and the extraversion dimension of personality, were at the high level, while the conscientiousness dimension and the neuroticism dimension of personality, were at the moderate level. Third, self-esteem, such as significance, power, competence, and virtue, were at the high level. Fourth, helping behavior, such as physical, verbal communication, intellect, and mentality were at the high level. Fifth, the students, who were different in gender, age, education level, grade point average, birth order, family income, career of the fathers and the mothers, did not differ in helping behavior. Six, family function was positively related to helping behavior at the 0.001 level of statistical significance. Seventh, the extraversion dimension, the openness to experience dimension, the agreeableness dimension, and the conscientiousness dimension of personality were positively related to helping behavior at the 0.001 level of significance. Eighth, self-esteem was positively related to helping behavior at the 0.001 level of significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย