ต้นทุนชีวิต ทักษะทางสังคม การมองโลกในแง่ดี และความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติ ของสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของต้นทุนชีวิต ทักษะทางสังคม การมองโลกในแง่ดี และความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติ 2) เปรียบเทียบความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนชีวิต ทักษะทางสังคม การมองโลกในแง่ดี กับความเข้มแข็งในการมอง โลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 308 คน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนชีวิตของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติอยู่ในระดับปานกลาง ทักษะทางสังคมของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติอยู่ในระดับสูง การมองโลกในแง่ดีของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติอยู่ในระดับสูง และ ความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติอยู่ในระดับสูง 2) เยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา ลำดับการเกิด สถานภาพการครองคู่ของบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา และรายได้ของครอบครัวมีความเข้มแข็งในการมองโลกไม่แตกต่างกัน 3) ต้นทุนชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ทักษะทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) การมองโลกในแง่ดีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมความประพฤติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Life’s Assets, Social Skill, Optimism and Sense of Coherence of Male Youth Probationers of Probation Offices in Bangkok
The objectives of this research were, firstly, to study the levels of life’s assets, social skill, optimism, and sense of coherence of male youth probationers; secondly, to compare the sense of coherence of male youth probationers by different personal factors; and thirdly, to study the relationship between life’s assets, social skill, optimism, and the sense of coherence of male youth probationers. The samples used in this research were 308 male youth probationers of probation offices in Bangkok. The data were collected by questionnaires and analyzed by a statistical package program. The statistical methods used for analysis were the percentages, the mean, the standard deviation, the t-test, the analysis of variance, and the Pearson’s product moment correlation coefficient. The results were as follows. First, life’s assets of male youth probationers were at the moderate level, social skill of male youth probationers were at the high level, optimism of male youth probationers were at the high level, and the sense of coherence of male youth probationers were also at the high level. Second, the male youth probationers who had different personal factors such as education level, place of birth, birth order, couple’s life status of parent, father’s education level, mother’s education level, father’s occupation, mother’s occupation, and family income did not have any effect on the sense of coherence. Third, life’s assets were positively related to the sense of coherence among male youth probationers at the 0.01 statistical significance level. Fourth, social skill was positively related to the sense of coherence among male youth probationers at the 0.01 statistical significance level. Finally, optimism was positively related to the sense of coherence among male youth probationers at the 0.01 statistical significance level.