ปัจจัยทำนายความเหนื่อยหน่ายของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1

Main Article Content

ธฤตา วงศ์สารัตน์
สุปาณี สนธิรัตน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาท สภาพแวดล้อมในห้องเรียน การเห็นคุณค่าในตนเองและความเหนื่อยหน่ายของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 1 2) เปรียบเทียบความเหนื่อยหน่ายของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 1 ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาท สภาพแวดล้อมในห้องเรียน และการเห็นคุณค่าในตนเองกับความเหนื่อยหน่ายของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 1 และ 4) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยหน่ายของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 1 จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีความแตต่างนัยสำคัญน้อยสุด สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความขัดแย้งในบทบาท ความคลุมเครือในบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง สภาพแวดล้อมในห้องเรียน การเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง และมีความเหนื่อยหน่ายอยู่ในระดับต่ำ 2) ครูที่มีเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์การทำงาน และจำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบแตกต่างกัน มีระดับความเหนื่อยหน่ายแตกต่างกัน 3) ความขัดแย้งในบทบาทและความคลุมเครือในบทบาทมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่าย ส่วนสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยหน่าย 4) ความคลุมเครือในบทบาท ความขัดแย้งในบทบาท และการเห็นคุณค่าในตนเองด้านความรู้สึกว่าตนมีคุณความดี สามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยหน่ายของครูได้ร้อยละ 50.20

 

Predicting Variables to Burnout of Teachers under Nan Primary Educational Service Area Office 1

The objectives of this study were as follows. Firstly, it examined the level of role conflict, role ambiguity, classroom environment, self esteem and burnout of teachers in Nan Primary Educational Service Area Office 1. Secondly, it compared the burnout of teachers in Nan Primary Educational Service Area Office 1 by their personal factors. Thirdly, it investigated the relationship between role conflict, role ambiguity, classroom environment, self esteem, and burnout of teachers under Nan Primary Educational Service Area Office 1. And fourthly it sought the variables that could predict burnout of teachers under Nan Primary Educational Service Area Office 1. The sample in the study consisted of 365 teachers under Nan Primary Educational Service Area Office 1. Data were collected by questionnaires and were analyzed by computer program application. Statistical methods in this study were the percentages, the mean, the standard deviation, the t-test, the analysis of variance, the least significant difference method, the Pearson’s product moment correlation coefficient, and the multiple regression analysis. Statistical significance level was set at 0.05.

The results obtained from this study indicated that the role conflict and the role ambiguity were at moderate level while perception of the classroom environment and self esteem were at high level; however, burnout was at low level. Secondly, teachers with different sex, age, income, work experience, and number of students had different burnout. Thirdly, the role conflict and role ambiguity were positively correlated with burnout while classroom environment and self esteem were negatively correlated with burnout. Fourthly, role ambiguity, role conflict, and self esteem in terms of virtue, could jointly predict 50.20 percent of teacher’s burnout.

Article Details

บท
บทความวิจัย