ผลกระทบความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการดาเนินงาน ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนประเทศไทย
Keywords:
ความรับผิดชอบต่อสังคม, การจัดการทรัพยากรมนุษย์, ความไว้วางใจองค์กร, ความผูกพันองค์กร, การเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กร, ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน, Corporate Social Responsibility, Human Resource Management, Organizational Trust, Organizational Commitment, OrganizaAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบความรับผิดชอบสังคมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ 2) เพื่อทดสอบตัวแปรกลางประกอบด้วย ความไว้วางใจองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบสังคมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกฎหมาย) กับผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย จำนวน 131 กิจการ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมุติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรับผิดชอบสังคมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานขององค์กร และ 2) ความไว้วางใจองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรเป็นตัวแปรกลางที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบสังคมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์และผลการดำเนินงานขององค์กร งานวิจัยนี้นำเสนอผลเชิงประจักษ์ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริการทางการแพทย์
Abstract
The objectives of this study are 1) to study the relationships between corporate social responsibility in HRM (economics, social, environment and legal responsibilities) and organizational performance, and 2) to test the mediating effects of corporate social responsibility in HRM success on the relationships between corporate social responsibility in HRM and organizational performance. A survey of 131 private hospitals in Thailand was conducted. The research hypotheses were tested by using multiple regression analysis technique. The results showed that four dimensions of CSR in HRM were positively related with organizational performance both direct and indirect via CSR in HRM success in terms of organizational trust, organizational commitment, and organizational citizenship behavior. Additionally, the research confirmed the existence of CSR in HRM and organization performance linkage by using organizational trust, organizational commitment and organizational citizenship behavior as mediator. This study demonstrated a business-based CSR in HRM for the greater involvement of accountability to employee stakeholders and responsible for its wider impact on society, especially, medical service business.