ปัจจัยที่มีผลต่อการเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในตลาดนัดสีเขียว และร้านค้าเฉพาะด้านแบบมีสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
สินค้าเกษตรอินทรีย์, การเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์, ตลาดสีเขียวและร้านค้าเฉพาะด้านบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรกับปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคในตลาดนัดสีเขียวและร้านค้าเฉพาะด้านแบบมีสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จํานวน 400 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ค่าทางสถิติแบบถดถอยพหุคูณ (multiple regression) และใช้การเลือกตัวแปรเข้าสมการ แบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี สถานภาพโสดจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ มีรายได้ในครอบครัวระหว่าง 20,001-40,000 บาทต่อเดือน มีจํานวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน ส่วนใหญ่ไม่มีผู้ป่วยในครอบครัว 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยผู้บริโภคมีความพอใจในคุณค่าทางอาหารของสินค้าเกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับมาก ( = 4.05) รองลงมาได้แก่เลือกซื้อสินค้าที่มีการรับรองมาตรฐานระดับสากลมีการจัดแสดงสินค้าและการจัดนิทรรศการของตลาดสีเขียวและเครือข่ายร้านกรีน (
= 3.82 และ
= 3.64) ตามลําดับ 3) อายุ สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ซื้อประจํา และรายได้ครอบครัวต่อเดือน มีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.10) โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัวนี้ สามารถร่วมกันทํานายได้ร้อยละ 4.6 โดยมีสมการทํานาย คือ y = 353.685 + 3.733 (อายุ) – 127.705 (สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ซื้อเป็นประจํา) + 0.001 (รายได้ครอบครัวต่อเดือน)