การประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพงศ์ มีสมนัย สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การประเมิน, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และประเมินผลหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ ที่ดำเนินการในปัจจุบันในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้ากระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของการใช้หลักสูตร โดยข้อมูลที่ได้จะนำ ไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และ 2) นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงวัตถุประสงค์และโครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุงชุดวิชาและคำอธิบายชุดวิชา กระบวนการเรียนการสอน และกลุ่มผู้เรียนหรือผู้ใช้หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2560

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร 5 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 5 กลุ่มจำนวน 730 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 562 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 76.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาและตัวบ่งชี้การประเมินตั้งแต่ระดับมากขึ้น ไปจึงจะถือว่าผ่านการประเมินและเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยประเมินหลักสูตรพบว่า (1) ทุกองค์ประกอบที่ประเมินมีความเหมาะสมและมีคุณภาพในระดับมากถึงระดับมากที่สุด กล่าวคือ 1) ด้านบริบท ทั้งนักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์ประจำเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความชัดเจน ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบัณฑิต และความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมสอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยในระดับมากถึงมากที่สุด พร้อมกันนี้นักศึกษา บัณฑิต และอาจารย์ประจำเห็นว่าชุดวิชาในหมวดวิชาต่างๆ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเหมาะสมที่จัดไว้โครงสร้างของหลักสูตรในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับสำหรับชุดวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาเฉพาะทั้งนักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์เห็นว่ามีความสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและมีความเหมาะสมที่จัดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรในระดับมากถึงมากที่สุด ผลการประเมินด้านบริบทผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 2) ด้านปัจจัยนำเข้านักศึกษา บัณฑิต และเจ้าหน้าที่มหาวิท ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เห็นว่าเอกสารการสอน แหล่งการเรียนรู้ และคุณภาพของสื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมและคุณภาพในระดับมาก ในขณะเดียวกันอาจารย์ประจำเห็นว่าศักยภาพและความพร้อมของผู้สอนมีอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 3) กระบวนการดำเนินงานซึ่ง เป็นการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินการด้านการบริหารหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน การบริการและการจัดการการศึกษาของมหาวิทยาลัย นั้นนักศึกษา บัณฑิต อาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเห็นว่ามีเหมาะสมและมีคุณภาพในระดับมาก ผลการประเมินด้านกระบวนการผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 4) ด้านผลผลิต ทั้งบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต เห็นว่าบัณฑิต บริหารรัฐกิจมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับที่มากถึงมากที่สุด ผลการประเมินด้านผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (2) สำหรับข้อมูลที่นำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุงใหม่จะมุ่งเน้นการสร้างนักบริหารที่ชำนาญการทั่วไป โครงสร้างหลักสูตรจำนวน 120 หน่วยกิต ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 5 ชุดวชิ า (30 หน่วยกติ ) หมวดวิชาเฉพาะ 14 ชุดวิชา ( 84 หน่วยกติ ) และ วิชาเลือกเสรี 1 (6 หน่วยกิต) ชุดวิชา รวม 20 ชุดวิชา ใช้ระยะเวลาศึกษา 4 ปีการศึกษา โดยมีการปรับปรุงชุดวิชาใหม่ จำนวน 5 ชุดวิชา จากจำนวน 14 ชุดวิชา ในส่วนของเนื้อหาหลักสูตรนั้นจะเป็นเนื้อหาที่สะท้อนองค์ความรู้ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ 5 องค์ความรู้ได้แก่ องค์การและการจัดการ นโยบายสาธารณะ การบรหิ ารทรพั ยากรมนุษย์ ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และการคลังและงบประมาณ โดยยังคงคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไว้ตามเดิม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30