การเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลัง

ผู้แต่ง

  • เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

องค์กรเชิงกลยุทธ์, กระทรวงการคลัง

บทคัดย่อ

ในการศึกษาวิจัยเรื่องการเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (2) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาให้เป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลัง และ (3) เพื่อเสนอแนะการบริหารงานของกระทรวงการคลังไปสู่การเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์สมัยใหม่

แบบการวิจัยที่นำมาใช้ คือ การวิจัยแบบไม่ทดลอง โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจที่เน้นการวิจัยแบบตัดขวาง ผสมผสานกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการสัมภาษณ์ ประชากร คือ กระทรวงการคลัง ประกอบด้วย 9 หน่วยงาน มีตัวแทนของบุคลากรที่สังกัดสำนักนโยบายและแผนของกรมต่าง ๆ จำนวน 240 คน ผู้บริหารระดับสูง คือ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลังจำนวน 1 คน สำหรับขนาดตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ณ ระดับความคลาดเคลื่อน .05 ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของบุคลากรที่สังกัดสำนักนโยบายและแผนของกรมต่าง ๆ รวมจำนวน 150 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ (1) ค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลัง เท่ากับ 4.34 และผลการทดสอบสมมติฐาน คือ เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ การเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลัง มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .000 (2) เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอย พบว่าปัจจัยการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแก่ผู้บริหารขององค์กร ปัจจัยการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และปัจจัยการปรับการบริหารงานองค์กรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ รวมกันมีความสามารถในการอธิบายความผันแปรเรื่องระดับการเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลัง ได้ร้อยละ 83.7 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 (3) ในการบริหารงานของกระทรวงการคลังไปสู่การเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์สมัยใหม่ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีความผูกพันและมีความกระตือรือล้นสูงต่อการบริหารงานของกระทรวงให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายของกระทรวงการคลังที่กำหนดไว้ มีการทำแผนการเปลี่ยนแปลงหรือ Road Map Plan ของกระทรวงการคลังให้เห็นอย่างชัดเจน การปรับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของกระทรวงการคลังให้มีความแหลมคมและชัดเจนอยู่เสมอ

References

Balanced Scorecard Institute. (2015). Award for Excellence Report of Balanced Scorecard. North Carolina.

Boonyarataphan,Th. (2011). Strategic Formulation Plan of the Energy Policy and Planning Office, Ministry of Energy. Bangkok : Research Project.

Boonyarataphan,Th. (2013). Balanced Scorecard System Development of SeAH Precision Metal (Thailand) Co., Ltd. Bangkok : Research Project.

David, F. R. (1993). Strategic Management. New York : Macmillan Publishing Company.

David, F. R.(2013). Strategic Management Concepts and Cases : A Competitive Advantage Approach. Boston : Pearson.

Hitt, M. A., Ireland, R. D., & Hoskisson, R. E. (2015). Strategic Management : Competitiveness and Globalization : Concepts and Cases. Singapore : Cengage Learning Asia Pte Ltd.

Hoque, Z. (2014). 20 Years of Studies on the Balanced Scorecard: Trends, Accomplishments, Gaps, and Opportunities for Future Research, The British Accounting Review. 46. 33-59.

Jiang, D., & Liu, Z. (2014). Applicatiom of Balanced Scorecard in the GovernmentPerformance Appraisal, Open Journal of Social Sciences. 2 , 91-96.

Kaplan, R. S., & Klein, N. (1995). Chemical Bank: Implementing the Balanced Scorecard. Harvard Business School Press.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1992). The Balanced Scorecard: measures that drive performance, Harvard Business Review. Jan – Feb, 71–80.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1993). Putting the Balanced Scorecard to Work, Harvard Business Review. Sep – Oct, 2–16.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Using the Balanced Scorecard as a strategic management system, Harvard Business Review. Jan – Feb, 75–85.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Harvard Business School Press.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The Strategy-Focused Organization. Boston : Harvard Business School Press.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2004). Measuring the Strategic Readiness of Intangible Assets. Harvard Business Review, 82(2), 52-63.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2004). Strategy Maps. Massachusetts : Harvard Business School Press.

MacIntosh, R., & Maclean, D. (2015). Strategic Management : Strategists at Work. London : Palgrave.

Madsen, D. O., & Stenheim, T. (2015). The Balanced Scorecard : A Review of Five /Mike W. Peng.

Parnell, J. A. (2014). Strategic Management : Theory and Practice. California : SAGE Publications.

Pearce II, J. A., & Robinson, R. B. (2013). Strategic Management : Planning for Domestic & Global Competition. 14th ed. New York : McGraw-Hill Education.

Peng, M. W. Global Strategic Management (2014). Australia : South-Western Cengage Learning.

Pitt, M., & Koufopoulos, D. (2012). Essentials of Strategic Management. Los Angeles : SAGE Publication.

Prateep,C., Boonyarataphan,Th ., Udomwisawakul, N., & Smitananda, P. (2014). Review the Strategic Plan of Fuel Fund (2012-2016). Bangkok : Research Project.

Saloner, G., Shepard, A., & Padolny, J. (2001). Strategic Management. New York : John Wiley & Sons, Inc.

Schilling, M. A. (2013). Strategic Management of Technological Innovation. New York : McGraw-Hill.

Steiss, A. W. (2003). Strategic Management for Public and Nonprofit Organizations. New York : Marcel Dekker,Inc.
Reorganization of Ministry, Sub-Ministry, and Department Act, B.E. 2545

Wheelen T. L., Hunger J. D., Hoffman A. N., & Bamford C. E. (2015). Strategic Management and Business Policy : Globalization, Innovation, and Sustainability. Harlow : Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

How to Cite

บุณยรัตพันธุ์ เ. (2019). การเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 17(1), 28–42. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/78969