การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คำสำคัญ:
หลักสูตรเสริม, จริยธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี 2) ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมของนักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี โดยมีการพัฒนาหลักสูตรเสริมครั้งนี้มี 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรเสริม ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม การศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริม
การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อกาหนดองค์ประกอบของจริยธรรมที่นักศึกษาควรได้รับการพัฒนาในการพัฒนาหลักสูตรเสริมเป็นการพัฒนาโครงร่างหลัก สูตรเสริมให้เข้ากับข้อมูลพื้นฐานโดยในหลักสูตรเสริม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตรเสริม แนวคิด ทฤษฎีในการพัฒนาหลักสูตรเสริม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเสริม โครงสร้างของหลักสูตรเสริมซึ่งหลักสูตรเสริมนี้มี 4 หน่วยการเรียนรู้ ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 25 ชั่วโมง ในแต่ละหน่วยประกอบด้วยคำอธิบาย หน่วยการเรียนรู้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา การจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล จากนั้นทำการประเมินโครงร่างหลักสูตรเสริม โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม นำโครงร่างหลักสูตรเสริมที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยปทุมธานี รูปแบบการทดลองใช้หลักสูตรเสริมเป็นแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการอบรม และทำการปรับปรุงหลักสูตรเสริมให้สมบูรณ์
การศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี โดยสอบถามความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริม
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาหลักสูตรเสริม การพัฒนาหลักสูตรประกอบหลักสูตรเสริม ด้านเนื้อหาของหลักสูตรเสริม ด้านความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรเสริม ด้านระยะเวลาในการใช้หลักสูตรเสริม ด้านความเหมาะสมของกิจกรรมหลักสูตรเสริม ด้านสื่อประกอบของหลักสูตรเสริม และด้านความเหมาะสมของการประเมินผลหลักสูตรเสริม
References
กรมวิชาการ. (2546). การรายงานการติดตามและประเมินผลการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเครือข่าย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
จันทิมา แสงเลิศอุทัย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สาหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
เฉลิมพล สวัสดิพงษ์. (2551). การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ปรียานุช สถาวรมณี. (2548). การพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พรศิริ กองนวล และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสาหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม. รายงานการวิจัยโครงการวิจัยและเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา).
มนตรี ยางธิสาร. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
รัชนีกร ไพศาล. (2547). การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะศิลปะด้านการวาดภาพสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแกนนาการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา).
วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม. (2553). การพัฒนาตนเองหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิก. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล. (2544). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในกระบวนการพยาบาล. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโฒ).
วิเชียร อินทรสมพันธ์. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการบูรณาการจริยธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับครูมัธยมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สมพร หลิมเจริญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สุธินรัตน์ พานอ่อน. (2549). การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
สุมน อมรวิวัฒน์. (2549). บทบาทของสถาบันการศึกษากับการพัฒนาจิตใจ. นนทบุรี: เจริญผล.
โสวัฒน์ พรมสุวรรณ. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อปลูกฝังคุณธรรมนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
อรอนงค์ นิยมธรรม. (2555). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความเมตตากรุณาตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Kali-ski, B. (2001). Ethics in Management. New York: Macmillan Reference.
Lumpkin, Angela. (2008, February). “Teacher as Role Models Teaching Character as Moral Virtue”. JOPER. Vol.79 (No.2):p.279.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว