การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางในการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ด้วยการหาค่า I-CVI ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยการใช้แบบสอบถามโดยสอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 316 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงาน 2) ด้านการสร้างสัมพันธภาพ 3) ด้านการอบรมเลี้ยงดู 4) ด้านการเป็นอาสาสมัคร 5) ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน และ 6) ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน โดยมีรายละเอียดทั้งหมด 46 ข้อ จำแนกได้ดังนี้ 1) ด้านการบริหารงาน มี 8 ข้อ 2) ด้านการสร้างสัมพันธภาพ มี 7 ข้อ 3) ด้านการอบรมเลี้ยงดู มี 8 ข้อ 4) ด้านการเป็นอาสาสมัคร มี 8 ข้อ 5) การเรียนรู้ที่บ้าน มี 9 ข้อ 6) ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน มี 6 ข้อ
- ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม ร้อยละ 84 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสมทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเป็นอาสาสมัคร ด้านการอบรมเลี้ยงดู ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน ด้านการสร้างสัมพันธภาพ และด้านการบริหารงาน
- ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า โดยรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การเป็นอาสาสมัคร การสร้างสัมพันธภาพ การเรียนรู้ที่บ้าน การช่วยเหลือสนับสนุนการบริหารงาน ส่วนด้านการอบรมเลี้ยงดู อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2547). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2549). มาตรฐานการพัฒนาเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทิมา จันทร์สุวรรณ. (2558). การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาล (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นริสานันท์ เดชสุระ. (2552). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ปริญญา นิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิวรรณ สารกิจปรีชา. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย: ตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพมหานคร.
Berger, E.H. (1995). Parent as partners in education: The school-home working together. Columbus: Merrill Publishing.
Epstein. (1995, May). “School Family Community Partnership: Caring for the Children We Share,” in Phi Delta Kappa: 76(9), pp 701-712.
Grolnick, S.W. and Slowiaczek, L.M. (1994, December). “Parent’s Involvement in Children’s Schooling: A Multidimensional Conceptualization and Motivational Model,” in Child Development. 65(7), pp. 237-252.
Henderson, and Mapp. (2002). A New Wave of Evidence-The impact of School, Family, and Community Connections on Student Achievement. U.S.A.: Building Knowledge to Support Learning.
Rosso, H.A., (1991). Achieving Excellence in Fund Raising: A Comprehensive Guide to Principles, Strategies and Methods. San Francisco: Jossey-Bass.
Weiss, Heather B; Caspe Margaret; and Lopez, M. Elena. (2006). Family Involvement in Early Childhood Education. Harvard Family Research Project. Retrieved from www.gse. harvard.edu/hfrp/project/fine/resources/guide.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว