การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • กฤติญดา อ่อนคล้าย ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม และ ธนวิน ทองแพง 0964653262

คำสำคัญ:

การพัฒนาตัวบ่งชี้, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้าง  และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ และความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

 

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ตัวบ่งชี้ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ 27 ตัวบ่งชี้
  2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า ไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 143.80 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่องศาอิสระเท่ากับ 146 ดัชนี RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.00, ดัชนี GFI  มีค่าเท่ากับ 0.98  ดัชนี CFI  มีค่าเท่ากับ 1.00
  3. เกณฑ์ปกติความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมคะแนนทีปกติและค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์แบ่งเป็น 5 ระดับ และมีเกณฑ์การแปลความหมายระดับของความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูดังนี้ สูงกว่า T419 ระดับมากที่สุด T395-419 ระดับมาก T341-394 ระดับปานกลาง T295-340 ระดับน้อย ต่ำกว่า T295 ระดับน้อยที่สุด

References

กรองทิพย์ นาควิเศษ. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้: คนอุดมศึกษาสุจริตคิดชอบ. วารสารสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 23(2), 1-13.

เจษฎา กาศเจริญ, น.อ. (2550). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศูนย์ส่งกำลังฐานทัพเรือสัตหีบ. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิวรี พิศุทธิ์สินธพ. (2553). รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

อุทุมพร จามรมาน. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาในโครงการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

Bryk, A., Camburn, E. & Louis, K. S. (1999). Professional community in Chicago elementary schools: Facilitating factors and organizational consequences. Education Quarterly, 91(7), 23-34.

Hord, S. M. (2003). Learning together, leading together: Changing schools through professional learning communities. New York: Teachers College Press

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Thomas, S., Wallace, M., Greenwood, A. & Hawkey, K. (2006). Professional Learning Communities: Source Materials for School Leaders and Other Leaders of Professional Learning. London: Innovation Unit, DfES, NCSL and GTC..

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27