การวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (THE FACTOR ANALYSIS OF WITHOUT BELLY SCHOOL PROTOTYPE OF PATUMWAN DEMONSTATION SCHOOL)
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 680 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยมีระดับเรียนเป็นชั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการใช้แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน รวมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุงตามนิยามที่กำหนดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของรูปแบบหรือองค์ประกอบของคุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุงที่ได้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่าไค-สแควร์ (c2) ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (c2/df) ดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับค่าองศาอิสระของโมเดลที่ทดสอบ (NNFI) ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) ค่า RMR ค่า Standardized RMR และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA)
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุง ด้วยค่าสถิติค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (rxy) พบว่า แต่ละองค์ประกอบของคุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุงมีระดับการปฏิบัติ/ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง – มาก (= 225 – 3.473 และ S.D. = 0.683 – 0.898) และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (rxy) อยู่ระหว่าง 0.673 – 0.830 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.010
- 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุง ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของทฤษฎีและการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไค-สแควร์ (c2) มีค่า 2,635.630 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 010 (p-value = 0.000)
ค่าไค–สแควร์สัมพัทธ์ (c2/df) เท่ากับ 1.607 ดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับค่าองศาอิสระของโมเดลที่ทดสอบ (NNFI) เท่ากับ 1.000 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (RMR) เท่ากับ 0.029 ค่า Standardized RMR เท่ากับ 0.030 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.032 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่าสถิติ แสดงว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของคุณลักษณะต้นแบบโรงเรียนไร้พุง ประกอบด้วย (1) นโยบายของโรงเรียน (2) การบริหารจัดการในโรงเรียน (3) การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ
(4) โภชนาการในโรงเรียน (5) การสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และสถานที่ในโรงเรียน (6) โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน (7) ระบบติดตาม ให้กำลังใจ และรางวัล และ (8) เจตคติต่อความเป็นต้นแบบโรงเรียนไร้พุง ซึ่งมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ดังนั้นสถานศึกษาที่ต้องการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมโรงเรียนไร้พุง ควรจะใช้ทั้ง 8 องค์ประกอบเป็นกรอบในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลตามที่คาดหวัง
The main purposes of this study were to analysis factors of without belly school prototype of Patumwan Demonstration School. The sample of this study were 680 students in the first semester of 2014 academic year, from Patumwan Demonstration School by stratified random sampling. Data collection was made by the questionnaire and analysed by mean, standard deviation and the Pearson product moment correlation. The factor analysis of without belly school prototype was made by Chi-square (c2), Chi-square relative (c2/df), Non-norm Fit Index (NNFI), Comparative Fit Index (CFI), Root Mean Square Residual (RMR), Standardized RMR and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA).
The research results were as follow
- The basic data analysis of without belly school prototype by mean, standard deviation and the Pearson product moment correlation revealed that mean () ranged from 3.225 – 3.47 and standard deviation (S.D.) ranged from 0.683 – 0.898 were at moderate - high level. The Pearson product moment correlation (rxy) ranged from 0.673 – 0.830 with statistical significant at the level of .010.
- The factor analysis of without belly schoolprototype by confirmatory factor analysis method revealed that the scale model fitted well the empirical data with Chi-square (c2) value of 2,635.630 and statistical significant at the level of .010 (p-value = 0.000), Chi-square relative (c2/df) value of 1.607, Non-norm Fit Index (NNFI) value of 1.000, Comparative Fit Index (CFI) value of 1.000, Root Mean Square Residual (RMR) value of 0.029, Standardized RMR value of 0.030, and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) value of 0.032.
The results of this study show that The factors of without belly school prototype consist of (1) school policies (2) management in school (3) exercise and sport and recreation (4) nutrition in school (5) creating an atmosphere and environment and a place in the school (6) collaboration between the school and community (7) tracking and encourage and reward system and (8) The attitude toward prototype’s without belly school. The eight components have relationship consistent, so they be used as a framework for without belly school activities to achieve the expected results.
Downloads
References
[2] คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2557, จาก http://bps.ops.moph.go.th/Plan/plan10-50.pdf
[3] นิชาภา เลิศชัยเพชร. (2553). พฤติกรรมสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินของประชากรวัยแรงงาน: กรณีศึกษาพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี. ใน การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2553. หน้า 427 – 440.
[4] ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2547). พัฒนาการด้านกายของเด็กไทย : การเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
[5] สุดใจ ร่มเย็น. (2550). โรคที่พบบ่อยในคนอ้วน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2557, จาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/sudjai_r/sec04p4.htm
[6] สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2547). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสำหรับโรงเรียน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[7] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ม.ป.ป.). คู่มือสู่เส้นชัย โรงเรียนไร้พุง. ม.ป.พ.
[8] สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
[9] สุภมาส อังศุโชติ; สมถวิล วิจิตรวรรณา; และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคงการพิมพ์.
[10] รติพร ถึงฝั่ง. (2556, พฤษภาคม - สิงหาคม). การวิเคราะห์โมเดลมิมิค : การใช้ประโยชน์จากโปรแกรม LISREL รุ่นทดลองใช้เพื่องานวิจัย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 18(2): 128 – 140.
[11] พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2544). การส่งเสริมสุขภาพ : การบริโภคอาหาร. วารสารสุขศึกษา. หน้า 72 – 79.
[12] กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปี 2554. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
[13] ผจงสุข เนียมประดิษฐ. (2555). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสาหรับนิสิตมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย. ใน โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SMARTS ครั้งที่ 3. ม.ป.พ. หน้า 1 – 79.
[14] ธิดารัตน์ รัฐวิเศษ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการนำนโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (พัฒนาศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[15] กำจัด สุดโต. (2553). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ คม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). กาญจนบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
[16] มีนา โอราวัฒน์. (2554). การบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[17] Denman S.; et al. (1999). The management and organization of health promotion: a survey of school policies in Nottinghamshire. Health-Education-Journal. 58(2): 165 – 176.
[18] Hoyle, Tena Bostrom. (2005, October). Utilization of The Mariner Model for Planed, Systemic Change and the Continuous Improvement of Health-promoting Schools in Pueblo, Colorado: A Descriptive Study. Dissertations Abstracts International. 66(6): 243-A.
[19] Aldinger, Carmen E. (2007, May). The Process of Implementing Health-Promoting Schools in Zhejiang Province, China. Dissertations Abstracts International. 67(11): 502-A.
[20] Eichmann, Kelly K. (2011, July). The Relative Effectiveness of a Child-only and a Child-plus-parent Nutritional Education Program. Dissertations Abstracts International. 76(4): 179-A.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.